การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานร่วมกับกระบวนการโค้ช โรงเรียนในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน สำหรับเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา สำหรับเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดวิเคราะห์เอกสาร แบบสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินคู่มือฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสังเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน พบว่า 1) ครูภาษาไทยสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก 2) ครูภาษาไทยสามารถการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดสอบความรู้การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ทำแบบวัดคติธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) ความคิดเห็นของนักเรียนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
2. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน พบว่า 1) โครงร่างหลักสูตรมีความสอดคล้องและหลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความเหมาะสม 2) ผลทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน ของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม 3) การประเมินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก 4) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2540). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
จารุวรรณ ศิลปรัตน์. (2548). การพัฒนารูปแบบเสริมพลังการทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของครูอนุบาล. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2549). การพัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยง โดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการอบรม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2560). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10(3), 332-346.
ชุติมา สัจจานันท์. (2543). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินค่าวรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
มนัส สุขสาย. (2544). วรรณกรรมอีสาน เรื่อง ธรรมดาสอนโลก: จารปริวรรตจากอักษรธรรมโบราณอีสานเป็นอักษรไทย. มูนมังไทยอีสาน: อุบลราชธานี.
รวีวัตร์ สิริภูบาล. (2543). การพัฒนาแบบจำลองฝึกระบบฝึกอบรมครูเชิงทักษะปฏิบัติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สถิต ภาคมฤค และคณะ. (2553). คุณค่าทางวัฒนธรรมของโหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 15(2), 67-74.
สมาน รังสิโยกฤษณ์. (2524). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Higgins, S. & Leat, D. (2001). Horse for courses or courses for horse : What is effective teacher development? In J.A. Soler, & H. Burgess (Eds.). Teacher development : Exploring our own practice. London: Pual Chapman.
Mink, O.G., et al. (1993). Developing high-performance people: The art of coaching. Reading, Massachusetts: Addison-Wesley.