การพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน ในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพโครงสร้างพื้นฐานและความต้องการเพื่อการพัฒนาธรรมนูญตำบล 2) เพื่อพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 3) เพื่อการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ธรรมนูญตำบลเพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน ในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์, ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้นำชุมชน ผู้แทนประชาชน และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 22 คน และทำวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาธรรมนูญตำบลขึ้นในพื้นที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตำบลนาเสียว เป็นพื้นที่ชนบทใกล้เมืองตั้งอยู่บริเวณใกล้กับเทือกเขาภูแลนคา ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรพืชไร่ มีเส้นทางคมนาคม ไฟฟ้า และสาธารณสุขทั่วถึง ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมีความต้องการให้มีการพัฒนาธรรมนูญตำบลใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสภาพโครงสร้างพื้นฐาน 2) ด้านการเมือง 3) ด้านเศรษฐกิจ 4) ด้านสังคม 5) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 6) ด้านสิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝐱̅= 3.41)
2. ดำเนินการพัฒนาธรรมนูญตำบลนาเสียว โดย (1) รวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำธรรมนูญตำบล (2) ส่งเสริมความเข้าใจในการจัดทำ (3) ร่วมเสนอปัญหาความต้องการ (3) วิเคราะห์ปัญหาความต้องการของตำบล (4) ร่วมการจัดทำร่างธรรมนูญตำบล และ (5) จัดทำข้อตกลงร่วมกัน และได้ร่างธรรมนูญตำบล 1 ฉบับ
3. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ธรรมนูญตำบลนาเสียว จำนวน 6 เครือข่าย ประกอบด้วย 1) เครือข่ายผู้นำท้องที่ 2) เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เครือข่ายหน่วยงานด้านสาธารณสุข 4) เครือข่ายหน่วยงานด้านการศึกษา 5) เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐอื่น และ 6) เครือข่ายด้านศาสนา
Article Details
References
จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน;การศึกษาบ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 36(2), 215–234.
ชัยวัฒน์ โยธี และคณะ. (2559). การสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยชุมชนในจังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10(2) 21-27.
ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช และเพ็ญพร ตั้งปฏิการ. (2563). ธรรมนูญชุมชน: เครื่องมือของการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วารสารราชภัฎ Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences. 20(1), 128-140.
ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: หจก. ขอนแก่นการพิมพ์.
ประกันชัย ไกรรัตน์ และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลในการคัดแยกขยะมูลฝอยเขตเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(5), 635-649.
ปรีดา พูนสิน. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนวัดโสมนัส. รายงานการวิจัย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
รุ่งสุริยา หอมวัน และคณะ. (2566). เครือข่ายชุมชน 9 ดี: กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 8 (1), 719-731.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, (2559) ชุดความรู้การจัดทำธรรมนูญปกครองตนเอง, กรุงเทพฯ : สำนักสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน).
สันต์ชัย รัตนะขวัญ. (ม.ป.ป.). ประชาธิปไตยท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2564 จาก http://wiki.kpi.ac.th
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลจังหวัดชัยภูมิ. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2564 จาก www.chaiyaphum.go.th
เสกสรร ตันติวนิช. (2562). แนวคิด กระบวนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวโน้มการปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 7(1), 80-85.
Taro Yamane. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3ed. Singapore: Time Printers.