คุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2

Main Article Content

ประภัสรา ศรีบุญ
พระครูชัยรัตนการ

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 และ 2) เสนอแนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 351 คน กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า PNImodified และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา


           ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัจจุบันคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง  6 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านทิฏฐิสามัญญตา และด้านเมตตากายกรรม ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  2) แนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 ประกอบด้วย 6 ด้าน 21 แนวทาง ดังนี้ (1) ด้านเมตตามโนกรรม มี 4 แนวทาง (2) ด้านสีลสามัญญตา มี 3 แนวทาง (3) ด้านด้านเมตตากายกรรม มี 2 แนวทาง (4) ด้านเมตตาวจีกรรม มี 4 แนวทาง (5) ด้านทิฎฐิสามัญญตา มี 4 แนวทาง (6) ด้านสาธารณโภคี มี 4 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร ผาดไธสง. (2562). แนวทางการส่งเสริมการบริหารโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

นพวรรณ แก้วมั่น และคณะ. (2562). คุณธรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและพนักงานครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลจังหวัดสระบุรี. วารสารลวะศรีวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 3(1), 17-33.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประวัติ พื้นผาสุข. (2549). คณธรรมสำหรับผู้บริหาร. เชียงใหม่: คณะครุศาสตรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กองการพิมพ์ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กฟผ.

พระมหากฤษดา สิริวฑฺฒโน. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 2(5), 25-32.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2550). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยาฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2564). รายงานการปฏิบัติงานประจำปี 2564. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯมหานคร โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

อมรา เล็กเริงสินธุ. (2542). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

อัครพล นกทอง. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 9(1), 9-10.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.

Murry et al. (1996). A Study of the Moral Aspect of Leadership in an Urban.

New Orleans, Louisiana: University of New Orleans.