ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และ3) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการบริหารในศตวรรษ ที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารโรงเรียน มีประสิทธิผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (rxy = 0.827)
4. ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการบริหารในศตวรรษ ที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิการบริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม (X5) ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล (X4) และทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ (X3) สามารถร่วมกันพยากรณ์ทำนายผลต่อต่อประสิทธิการบริหารโรงเรียน ได้ร้อยละ 69.80 (Adjusted R Square = 0.698) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่สามารถเขียนในรูปสมการคะแนนดิบและสมการคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
สมการคะแนนดิบ : = 0.907+ 0.371 (X5) + 0.242 (X4) + 0.180 (X3)
สมการคะแนนมาตรฐาน : = 0.437 (X5) + 0.280 (X4) + 0.218 (X3)
Article Details
References
ณรงฤทธิ์ นามเหลา. (2560). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อ
การบริหารงานวิชาการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ธีรพงษ์ กาญจนสกุล. (2564). คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
บุญช่วย สายราม. (2562). ทักษะภาวะผู้นำองค์กรโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2562 จาก https://www.gotoknow.org/ posts/565807.
พรทิพย์ บริสุทธิ์. (2556). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาโรงเรียน. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2564
จาก http://kruorathai.blogspot.com/.
วัชรพงษ์ อุ้ยวงค์. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สิทธิศักดิ์ เพ็ชรยิ้ม. (2563). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการ
เรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อิศรา หาญรักษ์. (2563). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล โรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559, 10 พฤศจิกายน). คุณลักษณะยุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2564https://www.trueplookpanya.com/ knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir.
Adegbemile. (2011). “Principals’ Competency Needs for Effective Schools Administration In Nigeria. Journal of Education and Practice. 2(4), 17-18.