The บูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระครูปลัดทองใบ สุปภาโส (ปะพะลา)
โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
สงวน หล้าโพนทัน

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา  2) เพื่อศึกษาพุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัด 3) เพื่อบูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 รูป/คน และเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


         ผลการวิจัยพบว่า


         1. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา หมายถึง การบริหารจัดการวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด มี 4 ประเด็น คือ 1) ด้านการบริหาร จัดการ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านการจัดการสถานที่ และ 4) ด้านงบประมาณ พบว่า ขาดปัจจัย โดยไม่มี งบประมาณต่าง ๆ จากทางคณะสงฆ์ องค์กรแต่ละองค์กรต้องจัดหาเอง การขับเคลื่อนล่าช้า


         2. พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัด หมายถึง การนำแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการเป็นการบริหารอย่างเป็นระบบ และการวางแผนเป็นการบริหารเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตาม หลักสัปปายะ 4 คือ 1) พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตามหลักอาวาสสัปปายะ 2) พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตามหลักโคจรสัปปายะ 3) พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตามหลักภัสสสัปปายะ และ 4) พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตามหลักปุคคลสัปปายะ


         3. บูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด หมายถึง การพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยการนำหลักพุทธวิธีมาบูรณาการเพื่อให้เกิดสัปปายะทางด้านกายภาพ จิตภาพ ปัญญา และสังคม


         4. องค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด หมายถึง การบริหารจัดการวัดเพื่อให้เกิดสัปปายะทางกาย จิต ปัญญา และสังคม อันเป็นการพัฒนาที่นำไปสู่ความเป็นรมณียสถานอย่างยั่งยืนตามหลักพุทธวิธี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการ, ว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2538). คู่มือการบริหารศึกษาคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

ไพโรจน์ ดวงศรี. (2558) .รูปแบบโครงสร้างองค์การ และบทบาทการบริหารงานของพระสังฆาธิการที่มีผลต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). การคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุบิน กนฺตสีโล (ศรีบุญเรือง). (2549). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทัศนคติของชาวพุทธต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหานพพล กนฺตสีโล. (2554). ภาวะผู้นำของการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการ จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุตกิจสารวิมล (สุดใจ โกติรัตน์). (2564). รูปแบบการบริหารสำนักปฏิบัติธรรมเชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท (รุจิเวทย์). (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร). (2557). การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริอร ขันธหัตถ์. (2547). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.