ความต้องการจำเป็นของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตอบสนองคู่ (Dual – Response Format) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.95 สภาพที่พึงประสงค์ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านชื่อเสียง รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านบุคลิกภาพของแบรนด์ รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านอัตลักษณ์
2. ความต้องการจำเป็นของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 เรียงลำดับความสำคัญดังนี้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNIModified = 0.61) รองลงมาคือ ด้านบุคลิกภาพของแบรนด์ (PNIModified = 0.59) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือ ด้านชื่อเสียง (PNIModified = 0.29)
Article Details
References
กมลวิทย์ โสภิกุล. (2545). การเรียนการสอนในสังคมยุคใหม่ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษาในรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
กลุ่มงานนโยบายและแผนรวม สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2563). การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นที่ของกระทรวงมหาดไทย 1 รวมทั้งการให้การสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง. วารสารดำรงราชานุภาพ. 21(62), 1-12.
ชัยมงคล สุพรมอินทร์. (2558) การพัฒนาอาชีพเพื่อเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
นงลักษณ์ วิริชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2548). รายงานการประเมินการปฏิรูปเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พหุกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
นภัส พงศ์ภัสสร. (2565). การศึกษาการสร้างแบรนด์ของโรงเรียนเอกชนในระบบ, การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด และ สุริทอง ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. สุวีริยาสาสน์.
ศุภโชค เลาหะพันธุ์. (2553) การบริหารจัดการสมัยใหม่. วารสารดำรงราชานุภาพ. 10(36), 1-121.
วิทวัส สัตยารักษ์. (2552). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชน. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน. 2(2), 12-15.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สมชาติ ธรรมโภคิน และศศิรดา แพงไทย. (2562). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม Journal of MCU Nakhondhat. 6 (8), 4119-4132.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดาวรรณ เครือพานิช. (2549). โรงเรียนดีมีคุณภาพ. วารสารวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 9(4), 82.
รุ่ง แก้วแดง. 2543. ปฎิวัติการศึกษาไทย.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มติชน.