บูรณาการการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

อัจฉรา ไชยราช
สงวน หล้าโพนทัน
พระมหาสากล สุภรเมธี

บทคัดย่อ

       


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม 3) เพื่อบูรณาการการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการ  บูรณาการการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ


ผลการวิจัยพบว่า 


          แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เป็นการดำเนินชีวิตของมนุษย์บนพื้นฐานศาสนา และมีความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ 1) ด้านการศึกษา 2) ด้านสังคม 3) ด้านพลศึกษา 4) ด้านสุขศึกษา และ 5) ด้านโภชนาการศึกษา  หลักการดำเนินชีวิตที่ดีงาม คือ หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบของสุขภาพและความเป็นอยู่ในชีวิต และเป้าหมายการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ก็เพื่อให้มีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ


          หลักพุทธปรัชญาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม  ได้แก่ 1) ไตรสิกขา 2) หลักศีล 5 3) ภาวนา 4  4) หลักกุศลกรรมบถ 10 5) หลักมรรคมีองค์ 8


          บูรณาการการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามหลักไตรสิกขา แล้วนํามาฝกอบรมและพัฒนาตนเอง ทางกาย วาจา ใจ ด้วยหลักศีล 5 เพื่อทุกคนจะมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้า มีความสุข สังคมก็จะร่มเย็นมั่นคงได้ ด้วยหลักภาวนา 4 เป็นการสร้างเสริมสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ต้องดูแลรักษาให้มีความสมบูรณ์  และด้วยหลักกุศลกรรม 10 เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม  องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย โดยสรุปเป็น “3B MODEL”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2546) .การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกศึกษา. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์รายวัน.

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2547). ศาสนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

บุญมี แท่นแก้ว. (2547). พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่ โอ.เอ.พริ้นติ้งเฮ้า.

ปรเมธ ศรีภิญโย. (2562). หลักไตรสิกขากับการสอนในโรงเรียนวิถีพุทธ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 3(1), 27-41.

พระเทวิน เทวินโท. (2544). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ทิศทางพัฒนาในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระมหาประสิทธิ์ สิริปญฺโญ (ฤทธิ์มหันต์). (2536). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องมนุษย์นิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระรณชัย กิตฺติราโณ (ส่งศรี). (2562). การประยุกต์หลักใช้อริยมรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิต ของประชาชนในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมศักดิ์ สนฺตวาโจ (สนธิกุล). (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธตามแนวของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสรรค์ แสงสุขและคณะ. (2544). ความรู้คู่คุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วศิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรม.

วิไลวรรณ อาจาริยานนท์. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรมสำหรับผู้สูงอายุ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพาภรณ์ กันยะติ๊บ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ. คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉราวรรณ กันจินะ. (2562). พุทธบูรณาการในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้เกษียณอายุราชการ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.