บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำ 3) เพื่อบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พระสงฆ์ 5 รูป นักวิชาการ 3 คน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 คน ประชาชนทั่วไป 6 คน รวมจำนวน 20 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยพิจารณาความสอดคล้องจากการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้เป็นเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวคิดทฤษฎีการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา การปฏิบัติงานของผู้นำ มีปัญหาด้านโครงสร้างองค์กร บุคคล งบประมาณ และทรัพยากรต่าง ๆ 2. หลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 ประการ คือ (1) ธัมมัญญุตา รู้หลักการ (2) อัตถัญญุตา รู้จุดหมาย (3) อัตตัญญุตา รู้ตน (4) มัตตัญญุตา รู้ประมาณ (5) กาลัญญุตา รู้กาล (6) ปริสัญญุตา รู้ชุมชน และ (7) ปุคคลัญุตา รู้บุคคล 3. บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนงาน 2) ด้านการจัดบุคลากร 3) ด้านการประสานงาน 4) ด้านการรายงานผลงาน และ 5) ด้านการงบประมาณ 4. องค์ความรู้ใหม่ สรุปได้ ดังนี้ “SMT AEW MODEL” กล่าวคือ S = Sappurisa Dhamma หมายถึง หลักธรรมพุทธศาสนา M = Management of local government organization leaders หมายถึง การบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ T = Transparent, verifiable, efficient and effective หมายถึง การบริหารงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพประสิทธิผล
Article Details
References
พระครูโกสุมสมณวัตร (สังวาลย์ กุสุโม/เมาตะยา). (2560). ศึกษาหลักสัปปุริสธรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูภาวนาโสภิต วิ. (บุญญรัตน์ เมืองวงศ์). (2556). พุทธธรรมาภิบาล. ลำพูน: สำนักพิมพ์รัฐพลการพิมพ์.
พระสามารถ อานนฺโท. (2548). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). สถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย หน่วยที่ 14. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). เอกสารบรรยายสรุปข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 26 ธันวาคม 2565. ร้อยเอ็ด: สำนักปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (อัดสำเนา).
สุวรรณนา มีเดช. (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัมพร วงศ์โสภา. (2555). การศึกษาหลักสัปปุริสธรรมในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.