ผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูของนักศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยพิชญบัญฑิตด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

แสงเดือน คงนาวัง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา 2) ศึกษาผลพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมครู 2.2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.3) แบบสอบถามพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมฯ 2.4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)


           ผลการวิจัยพบว่า  1. ปัญหาและความต้องการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมครูของนักศึกษาฯพบว่าปัญหาการควบคุมอารมณ์ตนเอง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบในการทำงาน การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีปัญหาในระดับมาก (  = 3.72) และมีความต้องการเรียนรู้เนื้อหาสาระด้านคุณธรรม จริยธรรมครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.82) 2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า รูปแบบการเรียนรู้มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) และนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับความมีนัยสำคัญทาสถิติ .05 และนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.93) 3. ความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.30)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2557). โรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ขวัญชัย ขัวนา และคณะ (2561) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2), 77-96.

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2661). รายงาน สกว.: ความท้าทายของศตวรรษที่ 21 กับการเรียนรู้ยุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2566 จาก https://knowledgefarm.tsri.or.th/new-educational-system/

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพลับลิเคชั่น จำกัด.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). ข้อเสนอโครงการประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องคการมหาชน ) รอบ 3 ปี (พ.ศ. 2555-2557) และโครงการศึกษาและประเมินเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ สวก. ในทศวรรษหน้า. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร. (2555). การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning). The NAS Magazine มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. 2(1), 18-20.

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2557). หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2557 จาก http://www.supatta.haysamy.com/moral_ ethics.html

แสงดาว คงนาวัง และแสงเดือน คงนาวัง. (2565). การพัฒนาการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม สำหรับนักศึกษา ประกาศนียบัตรบัณฑิตด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบพาคิดพาทำที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21. วารสารพุทธิปรัชญาภิวัฒน์, 6(2), 316-328.

ศิริพงษ์ ฐานมั่น. (2562). การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับองค์การแห่งยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Science), 9(1), 146-163.

สุดใจ เขียนภักดี และคณะ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาหลักสูตรและวิทยาการการจัด การเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(2), 271-284.