การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น: การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

บุญเพ็ง สิทธิวงษา
พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์)
กนกอร บุญมี
พระกัณฑ์ปกรณ์ กุสลจิตฺโต (แก้วสุวรรณ์)
อาทิตย์ แสงเฉวก

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ


          ผลการวิจัยพบว่า :


         1. การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.26)


         2. โดยรวมทุกด้าน (Y) ได้รับอิทธิพลจากทางตรงจากการกำหนดผลิตภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่ม (X2) การถ่ายทอดความรู้ (X6) การแลกเปลี่ยนความรู้ (X4) โดยทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายภูมิโดยรวมทุกด้านเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ร้อยละ 9.48 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Y3 = 0.301X2+0.512X6+-.122X4


         3. กำหนดกิจกรรมความสอดคล้องกับเนื้อหา สามารถนำความรู้มาใช้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่โดยประยุกต์ใช้ นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากับศาสตร์ต่างๆ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบผสมผสานกับนวัตกรรมสมัยใหม่ ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน สรุปผลไว้ในรูปแบบของแฟ้มสะสมและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหรือความรู้ที่ชัดเจนเป็นปัจจุบัน ส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมในชุมชนและสังคมให้คงไว้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดทุนทางสังคมที่ทุกระดับ หน่วยภาครัฐหรือภาคีเครือข่ายจัดวิทยากรหรือปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาอบรมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เกิดศูนย์การเรียนรู้นำมาปรับใช้ในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. (2551). จิ้งจกและวิธีไล่จิ้งจก. เรียกใช้เมื่อ 17 มิถุนายน 2565 จาก http://pasusat.com/จิ้งจก.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

จิราภรณ์ หล้าฤทธิ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการวิจัย. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู.

เฉลิมชัย สังข์มณฑล. (2551). การเลี้ยงไก่เนื้อ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกษตรสยามบุ๊คส์.

เฉลิมชัย หอมตา. (2563). การศึกษาสภาพการเลี้ยงไก่เนื้อโคราชของเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อโคราชมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 11(1), 53-66.

บุญเพ็ง สิทธิวงษา และคณะ. (2565). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 5(2), 49-66.

บุญเพ็ง สิทธิวงษา และคณะ. (2565). การประยุกต์ใช้นวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดลในจังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 5(2), 67-82.

ประภากร ธาราฉาย. (2560). การผลิตสัตว์ปีก. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก http://www.as.mju. ac.th/E-Book/t_prapakorn/.

ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง. (2563). การพัฒนารูปแบบระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนปลูกพืชโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบฝัง. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

พรพิมล ใจไหว และคณะ. (2556). การศึกษาระบบการเลี้ยงไก่ประดู่หางดําเชียงใหม่เป็นอาชีพที่ยั่งยืนของกลุ่มเกษตรกร จังหวัดเชียงราย. รายงานการวิจัย. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พิทักษ์ จิตรสำราญ และคณะ. (2560). การพัฒนาฟาร์มไก่ไข่แบบสมาร์ตบนพื้นฐานตรรกศาสตร์คลุมเครือและราสพ์เบอร์รี่ไพ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 8(2), 356–367.

ลักขโณ ยอดแคล้ว. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 12(2), 117-127.

วิษณุ ช้างเนียม. (2562). คู่มือเรียนโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

อาทิตย์ แสงเฉวก และคณะ. (2565). การบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 5(2), 83-97.

Artit Saengchawek And Group. (2022). The Integration of Innovation to Improve the Quality of Life for the Elderly According to the Sufficiency Economy Philosophy in the UpperNortheastern Region of Thailand. NeuroQuantology. 20(5), 1070-1078.

Boonpeng Sittivongsa And Group. (2022). Leadership Affecting Teamwork Performance of Teachers in Udon Thani Province, Thailand. NeuroQuantology. 20(10), 3855-3861.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.