การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ : ตัวอย่างกรณีศึกษาการวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุภรต์ จรัสสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม 73170
  • สรัญญา สุจริตพงศ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม 73170
  • พัจนันท์ ศิริรัตน์มงคล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม 73170

คำสำคัญ:

โปรแกรมคอมพิวเตอร์, งานวิจัยเชิงคุณภาพ, NVivo, CAQDAS, ข้อมูลเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Computer Qualitative Data Analysis Software (CAQDAS)) มีพัฒนาการมาเกือบ 40 ปี และในระยะหลัง เริ่มมีการใช้งานในกลุ่มนักวิจัยเชิงคุณภาพอย่างแพร่หลายมากขึ้น ปัจจุบันโปรแกรมฯ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้โปรแกรมที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น แต่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพยังต้องได้รับการเผยแพร่ให้มากขึ้น ข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ในบทความนี้มาจากการติดตามประเมินผลโครงการเตรียมความพร้อมเด็กและเยาวชนออกสู่สังคมอย่างเป็นสุข ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างระหว่างพ.ศ. 2561-2564 นำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์ประกอบด้วยกลุ่มผู้ดูแลเด็กทั้งหมด 89 คน กลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 78 คน โดยมีการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงพื้นที่จากสถานสงเคราะห์นำร่อง 5 แห่ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง (รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล) และภาคใต้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาเป็นเครื่องมือช่วยจัดการและช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ โปรแกรม NVivo โดยแสดงผลการใช้งานในกลุ่มคำสั่ง Queries ในการช่วยวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กที่จะช่วยเตรียมความพร้อมเด็กและเยาวชนให้พร้อมออกสู่สังคม ผลการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ NVivo มาใช้กับข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีความซับซ้อนและหลากหลายกลุ่ม สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ที่เกิดจากการใช้โปรแกรม NVivo ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

Basak, K. S. (2015). Analysis of the impact of NVivo and endnote on academic research productivity. International Journal of Social, Behavioral, Educational, Economic, Business and Industrial Engineering, 9(9), 3237 - 3242.

Bazeley, P., & Jackson, K. (2013). Qualitative Data Analysis with NVivo. Sage Publications.

Dalkin, S., Forster, N., Hodgson, P., Lhussier, M., & Carr, S. M. (2021). Using computer assisted qualitative data analysis software (CAQDAS; NVivo) to assist in the complex process of realist theory generation, refinement and testing. International Journal of Social Research Methodology, 24(1), 123-134. https://doi.org:10.1080/13645579.2020.1803528

Honghton, C., Murphy, K., Meehan, B., Thomas, J., Brooker, D., & Casey, D. (2016). From screening to synthesis: Using NVIVO to enhance transparency in qualitative evidence synthesis. Journal of Clinical Nursing, 26, 873-881. https://doi.org:10.1111/jocn.13443

Hutchison, A. J., Johnston, L. H., & Breckon, J. D. (2010). Using QSR-NVivo to facilitate the development of a grounded theory project: An account of a worked example. International Journal of Social Research Methodology, 13(4), 283–302.

Muhtarom, M., Murtianto, Y. H., & Sutrisno, S. (2017). Thinking process of students with high-mathematics ability: A study on QSR NVivo 11-assisted data analysis. International Journal of Applied Engineering Research, 12(17), 6934–6940.

O’Kane, P., Smith, A., & Lerman, M. P. (2021). Inductive research through computer-aided qualitative data analysis software. Organizational Research Methods, 24(1), 104-139. https://doi.org:10.1177/1094428119865016

Ozkan, B. C. (2004). Using NVivo to analyze qualitative classroom data on constructivist learning environments. The Qualitative Report, 9(4), 589-603.

Paulus, T., Woods, M., Atkins, D., P., & Macklin, R. (2017). The discourse of QDAS: Reporting practices of ATLAS.ti and NVivo users with implications for best practices. International Journal of Social Research Methodology, 20, 35-47. https://doi.org:10.1080/13645579.2015.1102454

Robins, C. S. & Eisen, K. (2017). Strategies for the effective use of NVivo in a large scale study: Qualitative analysis and the repeal of don’t ask, don’t tell. Qualitative Inquiry, 23(10), 768-778. https://doi.org:10.1177/1077800417731089

Vignato, J., Inman, M., Patsais, M., & Conley, V. (2022). Computer-assisted qualitative data analysis software, phenomenology, and Colizzi’s method. Western Journal of Nursing Research, 44(12), 1117-1123. https://doi.org:10.1177/01939459211030335

Wilk, V., Soutar, G. N., & Harrigan, P. (2019). Tackling social media data analysis: Comparing and contrasting QSR NVivo and Leximancer. Qualitative Market Research: An International Journal. https://doi.org: 10.1108/QMR-01-2017-0021

Wolski, U. (2018). The history of the development and propagation of QDA software. The Qualitative Report, 23(13), 6-20. https://nsuworks.nova.edu/tqr/vol23/iss13/2

Wong, L. (2008). Data analysis in qualitative research: A brief guide to using NVivo. Malaysian Family Physician: The Official Journal of The Academy of Family Physicians of Malaysia, 3(1), 14–20.

Woods, M., Macklin, R., & Lewis, G. K. (2016). Researcher reflexivity: Exploring the impacts of CAQDAS use. International Journal of Social Research Methodology, 19(4), 385-403, https://doi.org:10.1080/13645579.2015.1023964

Zamawe F. C. (2015). The Implication of Using NVivo Software in Qualitative Data Analysis: Evidence-Based Reflections. Malawi medical journal, 27(1), 13–15. https://doi.org/10.4314/mmj.v27i1.4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10

How to Cite

จรัสสิทธิ์ ส. ., สุจริตพงศ์ ส. ., & ศิริรัตน์มงคล พ. . (2023). การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ : ตัวอย่างกรณีศึกษาการวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์ประเทศไทย. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 36(3), 191–214. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jrm/article/view/778

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ