This is an outdated version published on 2024-08-31. Read the most recent version.

การวิเคราะห์เครือข่ายสังคมที่สนับสนุนองค์ความรู้ ต่อการนำนโยบายพัฒนาครูภาษาอังกฤษสังกัด สพฐ. สู่การปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • Pataraporn Laowong -
  • ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330
  • สุวิมล ว่องวาณิช ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม, การพัฒนาครูภาษาอังกฤษ, การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผู้มีส่วนสนับสนุนองค์ความรู้ต่อการนำนโยบายด้านการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สู่การปฏิบัติ ในช่วงปี 2561 -2565 โดยใช้การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม (Social Network Analysis: SNA) โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามครูภาษาอังกฤษ จำนวน 1,100 คน  และผู้นำนโยบายด้านการพัฒนาครูภาษาอังกฤษสู่การปฏิบัติ 541 คน  ผลการวิจัย พบว่า ผู้มีอิทธิพลสำคัญต่อการให้องค์ความรู้แก่ครูภาษาอังกฤษ ได้แก่ สื่อออนไลน์ เพื่อนครู ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (Professional Learning Community: PLC) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตามลำดับ โดยมีค่าน้ำหนักคุณภาพการได้รับความรู้ เท่ากับ 2.70 – 3.20 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5) สะท้อนว่ามีการแลกเปลี่ยนความรู้เพียงประมาณเดือนละ 1 ครั้งหรือน้อยกว่า ขณะที่ช่องทางผ่าน influencers มีความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าช่องทางอื่น ๆ ค่อนข้างมาก โดยมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักความสัมพันธ์ถึง 4.09 สะท้อนว่าครูภาษาอังกฤษใช้ช่องทางดังกล่าวในการเรียนรู้ประมาณ
2 – 3 ครั้งต่อเดือน   สำหรับช่องทาง/ผู้ให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มผู้ขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาครูภาษาอังกฤษมากที่สุด คือ PLC ศึกษานิเทศก์ ศูนย์ HCEC สถาบันภาษาอังกฤษภายใต้ สพฐ. และผู้อำนวยการโรงเรียน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีคุณภาพไม่สูงมากนัก โดยมีค่าน้ำหนักความสัมพันธ์เฉลี่ย (weighted out-degree) อยู่ในช่วง 1.46 – 2.44 (จากคะแนนเต็ม 5)  ทั้งนี้ ผู้มีบทบาทสำคัญในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกับผลการวิเคราะห์ภาพรวมมากนัก แต่คุณภาพความสัมพันธ์ในระดับมัธยมดีกว่าในระดับประถมศึกษาเกือบทุกช่องทาง สำหรับค่าความใกล้ (closeness centrality) พบว่า node ต่าง ๆ ของทั้งสองระดับการศึกษามีค่าที่ใกล้เคียงกัน โดยอยู่ในช่วง 0.37 - 0.48 แต่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนของคะแนนค่าคั่นกลาง (betweenness centrality) นอกจากนี้ ยังพบว่าประเภทผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและโครงสร้างหรือรูปร่างเครือข่ายในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษามีความแตกต่างกัน

References

กนกวรรณ ศิริเทศ และอภิชาติ เลนะนันท์. (2565). กลยุทธ์การขับเคลื่อนและพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทพสุวรรณชาญวิทยา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 171-178.

ชลภัคสรย์ กิตติมานะพันธ์. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถภาษา อังกฤษ สำหรับผู้เรียนระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน จังหวัดชุมพร. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(12), 107-121.

ชาญชัย ชำนาญเอื้อ, สุกัญญา รุจิเมธาภาส และหยกแก้ว กมลวรเดช. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการ จัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 12(1).

ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล และวรญา วิไลรัตน์. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง. Journal of Modern Learning Development, 7(10), 195-219.

ยุพิน เซามาไลเนน และอาคม อึ่งพวง. (2560). การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 130-141.

วิทยา พาพิมพ์, สุพรรณริกา วัฒน์บุณย์, & พนาน้อย รอดชู. (2564). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเครือข่ายสังคมการเรียนรู้ สคูโลจีในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาจังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(1), 29-38.

ศรายุทธ สุภะโส และมนตรี วงษ์สะพาน (2562). การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาครูในการกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. Dhammathas Academic Journal, 19(2), 35-48.

ศิรินาถ ตงศิริ, ศุภวิตา แสนศักดิ์, ชนัตตา พลอยเลื่อมแสง, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และสุมัทนา กลางคาร (2560). การวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนของครูส่งผลต่อผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนอย่างไร. Focus ประเด็นจาก PISA, 57.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566, กันยายน 3). ตัวชี้วัดด้านสังคม : สถิติด้านการศึกษา - ผลทดสอบทางการศึกษา จำแนกตามรายวิชาและระดับการศึกษา. https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=PageSocial

Albers, B., & Pattuwage, L. (2017). Implementation in Education: Findings from a Scoping Review. Melbourne: Evidence for Learning. Retrieved from http://www.evidenceforlearning.org.au/evidence-informed-educators/ implementation-ineducation

Ashiedu, A. (2019). A Comparison of social network analysis software & application to Nigeria Corporate System [Doctoral dissertation]. University of Northern British Columbia.

Baker-Doyle, K. J. (2015). Stories in networks and networks in stories: A tri-modal model for mixed-methods social network research on teachers. International Journal of Research & Method in Education, 38(1), 72-82.

Bauer, M. S., Damschroder, L., Hagedorn, H., Smith, J., & Kilbourne, A. M. (2015).

An introduction to implementation science for the non-specialist. BMC psychology, 3(1), 1-12.

Carolan, B.V. (2014). SAGE Research Methods: Social Network Analysis and Education:

Theory, Methods & Applications. SAGE Publications, Inc.

Century, J., & Cassata, A. (2016). Implementation research: Finding common ground on what, how, why, where, and who. Review of Research in Education, 40(1), 169-215.

Education First. (2022). EF EPI: English Proficiency Index, a ranking of 111 countries and regions by English skills. www.ef.com/epi.

Gladden, M. (2017). From virtual teams to hive minds: Developing effective network topologies for neuroprosthetically augmented organizations, Neutroprothetic Supersystems Architecture (pp. 253-301). Synthypnion Academic.

Helbling, J., & Anderson, J. (2016). Social Network Analysis for assessing research team collaboration and implementation capacity. 2016 Resilience Week (RWS), 172-177. IEEE.

Hill, M., & Hupe, P. (2002). Implementing public policy: Governance in theory and in practice. Sage.

Howlett, M. & Ramesh, M. (2003). Studying public policy: Policy cycles and policy subsystems (2nd ed.). Oxford University Press.

McCann, H, Fünfgeld, H, Brown, J and Wylie, R (2016): Social networks and disaster resilience: an introduction. Report prepared for the Enhancing Networks for Resilience Project. Hamilton, Australia: Southern Grampians Glenelg Primary Care Partnership.

Newhouse, R., Bobay, K., Dykes, P. C., Stevens, K. R., & Titler, M. (2013). Methodology issues in implementation science. Medical Care, S32-S40.

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

Versions

How to Cite

Laowong, P., ภิรมย์สมบัติ ช., & ว่องวาณิช ส. (2024). การวิเคราะห์เครือข่ายสังคมที่สนับสนุนองค์ความรู้ ต่อการนำนโยบายพัฒนาครูภาษาอังกฤษสังกัด สพฐ. สู่การปฏิบัติ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 37(2), 151–166. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jrm/article/view/777

ฉบับ

บท

บทความวิจัย