ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330
  • สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330
  • กนิษฐ์ ศรีเคลือบ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330

คำสำคัญ:

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล, โมเดลการวัดแบบสะท้อน, โมเดลการวัดแบบก่อตัว, สถิติแบบเบส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระหว่างโมเดลการวัดแบบสะท้อนและแบบก่อตัว 2) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัลและองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนที่มีภูมิหลังต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัล จำนวน 46 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย สถิติทดสอบทีแบบอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบตัวแปรพหุนาม รวมทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์ และการวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบความถี่ ด้วยโปรแกรม Mplus และ SmartPLS ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อน (BIC = 12925.857) มีความเหมาะสมมากกว่าโมเดลการวัดแบบก่อตัว (BIC = 12718.760)  2) นักเรียนมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง และองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัล การรู้ดิจิทัล การมีส่วนร่วมทางดิจิทัล การมีจริยธรรมในการใช้ดิจิทัล และการปกป้องตนเองในโลกดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการรักษา
อัตลักษณ์ในโลกดิจิทัลอยู่ในระดับสูง 3) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน เมื่อเปรียบเทียบตามเพศ ระดับชั้น ระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการพักผ่อน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อพบปะกับเพื่อนฝูง พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบตามแผนการเรียน ขนาดโรงเรียน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัล พบว่า องค์ประกอบที่ 1 การรู้ดิจิทัล และองค์ประกอบที่ 3 การรักษาอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนต่างกัน ขนาดโรงเรียนต่างกัน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนร่วมทางดิจิทัล นักเรียนที่เพศต่างกัน ศึกษาในแผนการเรียนต่างกัน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 4 การมีจริยธรรมในการใช้ดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนต่างกัน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และองค์ประกอบที่ 5 การปกป้องตนเองในโลกดิจิทัล นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันแต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ต้องตา จำเริญใจ. (2561). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3504/1/RMUTT-160404.pdf

นงนุช จินดารัตนาภรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะและความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 81-100.

โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม. (2558, 29 กรกฎาคม). โครงสร้างหลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. http://www.thaischool1.in.th/_files_school/20060006/data/20060006_1_20150729-165201.pdf

วรรณากร พรประเสริฐ, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, ปกรณ์ ประจันบาน, และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2562). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์ปกติความพลเมืองดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 217-234.

สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร. (2555). วิธีการประมาณค่าแบบเบส์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับที่ตัวแปรมีความคลาดเคลื่อนจากการวัด : การศึกษาสถานการณ์จำลองแบบมอนติคาร์โลและข้อมูลจริง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37520

เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. (2559). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 116-130.

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6(2), 93-104.

Choi, M., Glassman, M., & Cristol, D. (2017). What it means to be a citizen in the internet age: Development of a reliable and valid digital citizenship scale. Computers and Education, 107, 100–112.

Coltman, T., Devinney, T. M., Midgley, D. F., & Venaik, S. (2008). Formative versus reflective measurement models: Two applications of formative measurement. Journal of Business Research, 61(12), 1250–1262.

Common Sense Media. (2015). Our K-12 digital citizenship curriculum. Common Sense Media.

Council of Europe. (2017). Digital citizenship education: Empowering digital citizenships. The council of Europe.

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. (2006). Formative versus reflective indicators in organizational measure development: A comparison and empirical illustration. British Journal of Management, 17, 263-282.

Diamantopoulos, A., & Winklhofer, H. M. (2001). Index construction with formative indicators: An alternative to scale development. Journal of Marketing Research, 38(2), 269-277.

Diamantopoulos, A., Riefler, P., & Roth, K. P. (2008). Advancing formative measurement models. Journal of Business Research, 61, 1208-1218.

Gelman, A., Carlin, J. B., Stern, H. S., & Rubin, D. B. (2014). Bayesian data analysis (3th ed.). Chapman & Hall/CRC.

Global Digital Citizen Foundation. (2015). Digital Citizenship School Program. Retrieved from https://globaldigitalcitizen.org/digital-citizenship-school-program

Hair Jr., J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C., & Sarstedt, M. (2013). A primer on partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM). SAGE Publications.

International Society for Technology in Education. (2007). National Educational Technology Standards for Student (2nd ed.). International Society for Technology in Education.

International Society for Technology in Education. (2017). International Society for Technology in Education Standards for Students. Retrieved from www.iste.org/standards/for-students

Jones, L. M., & Mitchell, K. J. (2016). Defining and measuring youth digital citizenship. New Media and Society, 18(9), 2063–2079.

Kaplan, D. (2014). Bayesian statistics for the social sciences. Guilford Publications.

Ke, D., & Xu, S. (2017). A research on factors affecting college students’ digital citizenship. The Sixth International Conference of Educational Innovation through Technology.

Kim, M., & Choi, D. (2018). Development of youth digital citizenship scale and implication for educational setting. Journal of Educational Technology and Society, 21(1), 155–171.

Lyons, R. (2012). Investigating student gender and grade level differences in digital citizenship behavior. College of Education, Walden University.

Martin, F., Gezer, T., & Wang, C. (2019). Educators’ perceptions of student digital citizenship practices. Computers in the Schools, 36(4), 238–254.

MediaSmart. (2016). Use, Understand and Create: A digital Literacy Framework for Canadian Schools. Retrieved from https://mediasmarts.ca/sites/mediasmarts/files/pdfs/digital-literacyframework.pdf

Muthen, B., & Asparouhov, T. (2012). Structural equation modeling: A more flexible representation of substantive theory. Psychological Methods, 17(3), 313-335.

Nordin, M. S., Ahmad, T. B. T., Zubairi, A. M., Ismail, N. A. H., Rahman, A. H. A., Trayek, F. A., & Ibrahim, M. B. (2016). Psychometric properties of a digital citizenship questionnaire. International Education Studies, 9(3), 71-80.

Park, Y. (2017). Digital Intelligence (DQ). DQ Institute.

Preacher, K. J., & Coffman, D. L. (2006). Computing power and minimum sample size for RMSEA [Computer software]. Retrieved from http://quantpsy.org

Ribble, M. (2011). Digital citizenship in school (2nd ed.). International Society for Technology in Education.

Ribble, M., & Bailey, G. (2011). Nine elements of digital citizenship. Digital citizenship: Using technology appropriately. International Society for Technology in Education.

Sandoval, Z. V. (2019). Digital citizenship in higher education students. Issues in Information Systems, 20(4), 93-103.

Soper, D. S. (2014). A-priori sample size calculator for structural equation models [Computer software]. Retrieved from https://www.danielsoper.com/statcalc/calculator.aspx?id=89

UNESCO. (2017). Digital Citizenship Education in Asia-Pacific Outcome Document. Conference on Digital Citizenship Education in Asia-Pacific, 22-23.

Translated Thai References

Jamroenjai, T. (2018). Digital citizenship of students in primary levels 1-6 (Grades 1-6) in schools under the Phetchabun primary educational service area office 3. [Master’s thesis, Rajamangala University of Technology Thanyaburi]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3504/1/RMUTT-160404.pdf

Jindarattanaporn, N. (2021). Factors effecting internet literacy among Thai teenagers. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University, 24(1), 81-100.

Takhampittayakom School. (2015). Course Structure for Senior High School. http://www.thaischool1.in.th/_files_school/20060006/data/20060006_1_20150729-165201.pdf

Phornprasert, W. et al. (2019). The development of students’ digital citizenship scale and norms in higher education institutions. Journal of Education Naresuan University, 22(3), 217-234.

Srisuttiyakorn, S. (2012). Bayesian estimation for multi-level data analysis with measurement error in variables: Monte Carlo simulation and empirical data studies. [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37520

Lampetch, S. (2016). Behavior and impact of using social network of secondary school students in Nonthaburi province. Suthiparithat Journal, 30(93), 116-130.

Pholhiamhan, I. (2019). The educational challenge of Thailand’s small-sized secondary schools. Phimoldhamma Research Institute Journal, 6(2), 93-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31 — Updated on 2024-10-16

Versions

How to Cite

เจริญวานิชกูร พ. ., ศรีสุทธิยากร ส. ., & ศรีเคลือบ ก. . (2024). ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 37(2), 109–134. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jrm/article/view/1511 (Original work published 31 สิงหาคม 2024)

ฉบับ

บท

บทความวิจัย