การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • วีรวัฒน์ โอษฐงาม นิสิตปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณภัทร ชัยมงคล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330

คำสำคัญ:

สี่ระดับแบบใหม่, แบบสอบวินิจฉัย, วินิจฉัย, มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ และ 2) วิเคราะห์ ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน และระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติแบบสอบวินิจฉัยสามระดับและสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน สำหรับใช้ในการทดลองแบบสอบวินิจฉัย สี่ระดับแบบใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ และแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความยาก อำนาจจำแนก การวิเคราะห์ความเที่ยง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและความตรงตามเกณฑ์สัมพัทธ์โดยใช้สถิติแคปปา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัย สี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก (r = .976, p < .001) และ 2) ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคการคิดออกเสียงไม่แตกต่างกัน

References

ธนบดี อินหาดกรวด. (2554). การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและสี่ระดับ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60108

ธัญญารัตน์ จูมแพง. (2551). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงมโนคติและระดับความเข้าใจทางเรขาคณิตของนักเรียนตามกรอบแนวคิดของ Van Hiele เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์เบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มนัสสิริ อินทร์สวาท. (2559). การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยแบบสามระดับสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52379

วิยดา ซ่อนขำ. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ที่ใช้ทักษะการใช้เหตุผลและการเชื่อมโยงโดยบูรณาการสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. SWU IR. http://thesis.swu.ac.th/swudis/Math_Ed/Vetcharit_A.pdf

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2563). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anam, R. S., Widodo, A., Sopandi, W., & Wu, H. K. (2019). Developing a five-tier diagnostic test to identify students’ misconceptions in science: An example of the heat transfer concepts. Elementary Education Online, 18(03), 1014-1029.

Putra, A S U., Hamidah, I., & Nahadi. (2020). The development of five-tier diagnostic test to identify misconceptions and causes of students’ misconceptions in waves and optics materials. Journal of Physics: Conference Series, 1521(1). http://doi:10.1088/17426596/1521/2/022020

Qonita, M., & Ermawati, F. U. (2020). The validity and reliability of five-tier conception diagnostic test for vector concepts. Journal Inovasi Pendidikan Fisika, 9(03), 459-465.

Rifat, Shafwatul, Anam., Ari, Widodo., Wahyu, Sopandi., & Hsin-Kai, Wu. (2019). Developing a five-tier diagnostic test to identify students' misconceptions in science: an example of the heat transfer concepts. Elementary Education Online, 18(3), 1014-1029. https://doi.org:10.17051/ilkonline.2019.609690

Translated Thai References

Angganapattarakajorn, V. (2008). Development of instructional activities based on cognitive guided instruction through reasoning and connection skills that integrate mathematics content on data analysis and environmental science for grade 6 students [Doctoral dissertation, Srinakharinwirot University]. SWU IR. http://thesis.swu.ac.th/swudis/Math_Ed/Vetcharit_A.pdf

Inhadkruad, D. (2017). A comparison of misconception diagnostic results between three-tier and four-tier diagnostic test in biology for secondary students [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60108

Insawat, M. (2016). A comparison of the quality of three-tier diagnostic test of mathematical misconception using different levels of confidence [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52379

Jumepaeng, T. (2012). The study of matthayomsuksa 4 students’ conceptual change and geometric understanding based on van Hiele’s theory about analytic geometry [Unpublished master’s thesis]. Khon Kaen University.

Kanjanawasee, S. (2020). Modern test theory (5th ed). Chulalongkorn university press.

Sonkhum, W. (2008). A construction of mathematics learning diagnostic test on number and numerical works for matthayomsuksa 3 students [Unpublished master’s thesis]. Srinakharinwirot University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

โอษฐงาม ว. ., & ชัยมงคล ณ. . (2024). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 37(1), 33–50. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jrm/article/view/1233

ฉบับ

บท

บทความวิจัย