โมเดลเชิงสาเหตุศักยภาพการท่องเที่ยว และความต้องการของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสทางการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์: มุมมองนักท่องเที่ยว

Main Article Content

Tiwawan Siricharoen Kanha

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลสมการเชิงสาเหตุศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ(2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และปัจจัยความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสทางการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยมาท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 ราย แล้วใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน


ผลการวิจัย พบว่า (1) โมเดลสมการเชิงสาเหตุศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ความต้องการของนักท่องเที่ยว และการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi-square = 2.76, CFI=0.93, GFI=0.90, AGFI=0.87, TLI=0.92, RMR=0.30 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 (2) ขนาดอิทธิพลของปัจจัยศักยภาพด้านการท่องเที่ยว มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 แต่ความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ไม่มีระดับนัยสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จึงไม่สอดคล้องกับสมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้นจากผลการศึกษาสามารถนำไปเพื่อการวางแผนเชิงนโยบายและการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามศักยภาพการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญ ได้แก่ ด้านจุดดึงดูดใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสทางการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2566 จาก https://www.mots.go.th/news/category/655

ขวัญฤทัย เดชทองคำ. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืนของธุรกิจภายใต้วิกฤติโควิด 19. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 17 (2), 1-18. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2022 จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/249444/171040

จิราพร คงรอด. (2563). ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำคลองป่าพะยอม – คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33 (2), 100-116.

ดวงฤดี อุทัยหอม และ สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า. (2565). โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ที่มีต่อความต้องการทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของประชาชนในจังหวัดสงขลา. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3 (2), 46-59.

ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และพัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดนและบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. สุทธิปริทัศน์, 27 (83), 97-102.

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์ ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ และอารี ผสานสินธุวงศ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวสําหรับการเรียนรู้วิถีเกษตรเพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18 (1), 1-11.

พิศาล แก้วอยู่ และ ประกอบ ศิริภักดีพินิจ. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยการปรับใช้หัตถกรรมจักสานผักตบชวาในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา. การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 “Rethink : Social Development for Sustainability in ASEAN Community”. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2022 จาก https://cscd.kku.ac.th/uploads/ proceeding/070714_161726.pdf

เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล และ กิตติยา ชัชวาลชาญชนกิจ. (2564). อิทธิพลขององค์ประกอบการท่องเที่ยว ที่มีต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 10 (2), 1-8.

วงศ์มณี และ รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2564). คุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่นักท่องเที่ยวคาดหวังในแหล่งจุดหมายปลายทางเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9 (6), 2665-2678.

วิชสุดา ร้อยพิลา และ ปรีดา ไชยา. (2558). องค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10 (3), 197- 211.

วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. สารนิพนธ์(การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิไลวรรณ สว่างแก้ว. (2561). อิทธิพลของภาพลักษณ์องค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาตลาดน้ำคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). ศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2565). ส่องพฤติกรรมนักท่องเที่ยวแต่ละสาย คุณเป็นสายไหน?. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2022 จาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/8602/getdypugcp/EIC-In-Focus_ Consumer-survey-report_Travel-Part-2_20221026.pdf

สุจิตรา หนูมี. (2562). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา อำเภอเกาะ สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

เสาวรจนีย์ เสาเกลียว, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง และ เสาวภาคย์ กระจ่างยุทธ. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มเสน่ห์วิถีชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารรัชภาคย์, 16 (48), 263-282.

อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. (2566). การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยองค์ประกอบ ศักยภาพในการดึงดูดใจและการรองรับด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 18 (1), 16-34.

อภิญญา อิงอาจ. (2565). หลักการ ทฤษฎี และแนวปฏิบัติการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management, 21 (1), 97–116.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate data analysis (8 ed.). Hampshire, United Kingdom: Cengage.

Karim, R., Latip, N. A., Marzuki, A., Shah, A., Muhammad, F. (2021). Impact of Supply Components – 4As on Tourism Development: Case of Central Karakoram National Park, Gilgit–Baltistan, Pakistan. International Journal of Economics and Business Administration, 9 (1), 411–424.

Salman & Uygur. (2010). Creative Tourism and Emotional labor: an investigatory model of possible interactions. International Journal of Culture Tourism and Hospitality Research, 4(3), 186-197. [Online]. From https://doi.org/10.1108/17506181011067583