จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์ (Publication Ethics)
วารสารวิทยาการจัดการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ให้ความสำคัญกับจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักวิจัยและนักวิชาการของประเทศไทย รวมถึงสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนานักวิจัยและนักวิชาการของประเทศตามพันธกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนั้น ทางวารสารวิทยาการจัดการวิชาการจึงกำหนดบทบาทหน้าที่ให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการตีพิมพ์เพื่อใช้เป็นแนวทางที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบทุกบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์กับทางวารสาร โดยเป้าหมายในการพิจารณามุ่งเน้นที่ความสอดคล้องของเนื้อหาของบทความกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร นอกจากนั้น บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์ด้วย
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องยึดหลักการพิจารณาบทความโดยมุ่งเน้นเหตุผลทางวิชาการเป็นหลักสำคัญ และต้องไม่มีอคติต่อทั้งนักวิชาการและบทความทางวิชาการที่รับพิจารณา
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับนักวิชาการ ผู้วิจัย หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือในลักษณะของผลงานทางวิชาการ
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลง แทรกแซง และบิดเบือนข้อมูลระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัดในทุกกรณี
บทบาทหน้าของนักวิชาการหรือผู้วิจัย
- บทความที่นักวิชาการหรือผู้วิจัยส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการวิชาการนั้นต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
- นักวิชาการหรือผู้วิจัยต้องอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อต้องนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรือนำมาใช้ในเนื้อหาของบทความของตนเอง และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นงานของตนเอง
- หากผลงานทางวิชาการของนักวิชาการหรือผู้วิจัยมีความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ บุคคลที่เข้าร่วม หรืออาสาสมัครเข้าร่วม หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางกับผู้ให้ข้อมูล นักวิชาการหรือผู้วิจัยนั้นต้องดำเนินการตามหลักคุณธรรมจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องได้รับความยินยอมหรือความเต็มใจก่อนการดำเนินการเก็บข้อมูลจริง นอกจากนั้น นักวิชาการหรือผู้วิจัยนั้นต้องแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการดำเนินการศึกษา เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรมการวิจัยในมนุษย์หรือในสัตว์ทดลอง เป็นต้น
- นักวิชาการหรือผู้วิจัยต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้กับทางวารสารก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ และต้องไม่นำผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้วไปเผยแพร่กับแหล่งอื่น ๆ อีก
- ชื่อของนักวิชาการหรือผู้วิจัยที่ปรากฏในบทความตีพิมพ์ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในบทความในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเท่านั้น
บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
- ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับนักวิชาการหรือผู้วิจัย โดยการพิจารณาคุณภาพของบทความนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความดังกล่าวเป็นหลักและการพิจารณาบทความนั้นต้องอยู่บนหลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติ
- ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักว่า ตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ประเมินบทความ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับการประเมินอย่างแท้จริง
- ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากบทความทีทำการประเมินนั้น
- กรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจพบว่า บทความที่รับประเมินนั้นเป็นบทความที่คัดลอกผลงานผู้อื่น ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันทีและแสดงหลักฐานประกอบในประเด็นการคัดลอกดังกล่าว
- ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาระยะเวลาในการประเมินบทความตามกรอบเวลาที่วารสารวิทยาการจัดการวิชาการกำหนดไว้ และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่กำลังประเมินให้ผู้อื่นได้รับรู้เป็นอันขาด