พฤติกรรมและความพึงพอใจการเลือกฟังเพลงออนไลน์ บนแพลตฟอร์มยูทูบ (Youtube) ของนักเรียน ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

เสกสรร สายสีสด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกฟังเพลงออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบของนักเรียนในเทศบาลนครอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจกับการเลือกฟังเพลงออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบของนักเรียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีงานวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 คน โดยเครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมและความพึงพอใจ จำนวน 4 ตอน เก็บรวบรวมข้อมูลสุ่มแบบบังเอิญจากนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี นำข้อมูลที่ได้ รับมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ สำหรับสถิติที่ใช้ประกอบด้วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57.75 เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 42.25 ช่วงอายุของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ที่ อายุ 14 – 16 ปี คิดเป็นร้อยละ 62.00 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 66.25 สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล คิดเป็นร้อยละ 62.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 7,100 – 9,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 48.25


            2) พฤติกรรมการเลือกฟังเพลงออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบของนักเรียนในเทศบาลนครอุดรธานี ส่วนใหญ่วัตถุประสงค์ของกลุ่มตัวอย่างรับชมเพื่อความบันเทิง เช่น ฟังเพลง/MV LIVEสด คิดเป็นร้อยละ 77.00 นักเรียนรู้จักยูทูบ ส่วนใหญ่รู้จักผ่านสื่อสังคมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 90.50 ความถี่ในการใช้งานยูทูบ ส่วนใหญ่ คือทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 85.25 จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานยูทูบ ในแต่ละวันส่วนใหญ่คือ มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 78.50 เวลาฟังเพลงส่วนใหญ่ฟังในเวลาก่อนนอน คิดเป็นร้อยละ 58.00 ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตจากเครือข่ายมือถือ คิดเป็นร้อยละ 77.50 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกรับชมวิดีโอเพลง,MV เพลง คิดเป็นร้อยละ 46.00 ส่วนใหญ่ฟังเพลงประเภทเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้ คิดเป็นร้อยละ 54.50 เหตุผลส่วนใหญ่คือ ฟังเพราะชื่นชอบศิลปิน คิดเป็นร้อยละ 88.00 นักร้องที่ชื่นชอบส่วนใหญ่ คือ ก้อง ห้วยไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.25


            3) ความพึงพอใจกับการเลือกฟังเพลงออนไลน์บนแพลตฟอร์มยูทูบของนักเรียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีในด้านต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้ ความพึงพอใจในด้านการเทคนิคและการใช้งานของยูทูบ ส่วนใหญ่พบว่า     ยูทูบมีเทคนิคและการใช้งานที่ง่ายไม่ซับซ้อน มากที่สุด รองลงมาคือ ระบบหน้าต่างมีความง่าย สะดวกต่อการใช้งาน ความพึงพอใจในด้านความบันเทิงของยูทูบส่วนใหญ่พบว่า เพลงและ MV เพลงในยูทูบ เนื้อหาที่เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ฟังเพลงในยูทูบเป็นงานอดิเรก เพลงในยูทูบให้ความบันเทิงได้ ใช้ยูทูบในการถ่ายทอดสดเพลงหรือ LIVEสดร้องเพลง อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬาลักษณ์ นาคะชาต. (2563). การตัดสินใจเลือกรับชมรายการผ่านสื่อยูทูบ (Youtube). การค้นคว้าอิสระ

ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิศารัตน์ พยุหะ. (2562). พฤติกรรมและการเปิดรับเนื้อหาสื่อยูทูปของคนวัย 40-60 ปี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช.

สืบค้น 30 มีนาคม 2565 จาก https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

ละอองทราย โกมลมาลย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าผู้ใช้บริการสปาในเขต

คลองสาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

กรุงเทพ.

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2564). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดในยูทูบที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเจเนเรชั่น Z

และ Y. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 14(1), 1-12.

วรัญญู เวียงสิมา. (2563). พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจสื่อยูทูปของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี. (2565). ระบบสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดอุดรธานี. สืบค้น 30 มีนาคม

จาก https://www.udonpeo.go.th/data/app/2565/

อมรเทพ สกุณา. (2563). การสร้างสรรค์รายการเพลงบนยูทูบ: กรณีศึกษาบริบททางวัฒนธรรมดิจิทัลในการเปิด

รับชมรายการเพลงของผู้ชมในประเทศไทย. Journal of Business, Economics and Communications, 16(1), 42 – 570.

อัจฉริยา ทุ่งแจ้ง. (2560)” ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับชมรายการผ่านทางสื่อออนไลน์

วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อินโฟเครส. (2565). YouTube แพลตฟอร์มที่คนไทยใช้งานมากที่สุดปี 64. สืบค้น 30 มีนาคม 2565 จาก

https://www.infoquest.co.th/thailand-media-landscape-2022/youtube

อุษณีย์ ด่านกลาง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมวิดีโอคอนเทนท์บนสื่อสังคมออนไลน์

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์), 2(2), 78 – 90.

Atkin, C. K. (1973). New model for mass communication research. New York: Free Press.

Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: Free Press.

Shelley, M. W. (1975). Responding to social change. Pennsylvania: Dowden Hutchison.