การพยากรณ์ราคาพืชผักสำคัญแบบมีส่วนร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกผัก ในจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

กริชชัย ขาวจ้อย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและเลือกวิธีการพยากรณ์อนุกรมเวลาที่ดีที่สุดในการพยากรณ์ราคาพืชผักสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์แบบมีส่วนร่วมกับเกษตรกร โดยทำการเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ จำนวน 182 รูปแบบ จาก 5 วิธี คือ (1) วิธีค่าตรงตัว (2) วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (3) วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลชั้นเดียว (4) วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลสองชั้น และ (5) วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบวินเทอร์ ราคาขายของกะหล่ำปลีจากตลาดไท ตั้งแต่ มกราคม 2564 ถึง ธันวาคม 2565 จำนวน 730 ข้อมูล เป็นตัวแบบพยากรณ์จากนั้นจึงเปรียบเทียบค่าพยากรณ์ที่ได้จากตัวแบบกับค่าจริง งานวิจัยนี้พิจารณาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมจาก ค่าเฉลี่ยร้อยละของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) ค่าความผิดพลาดสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAD) และ ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสอง (MSE) ที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า (1) วิธีค่าแบบตรงตัว เหมาะสำหรับการพยากรณ์ราคาขายต่ำสุดของกะหล่ำปลี ซึ่งให้ค่า MAPE = 2.3275 MAD = 0.2538 และ MSE = 1.1728 (2) วิธีค่าตรงตัว เหมาะสำหรับการพยากรณ์ราคาขายสูงสุดของกะหล่ำปลี ซึ่งให้ค่า MAPE = 2.1581 MAD = 0.3086 และ MSE = 1.5377 และ (3) เกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่ เลือกใช้วิธีการพยากรณ์ราคาขายผัก แบบวิธีค่าแบบตรงตัว ในการคาดการณ์ราคาล่วงหน้าสำหรับการวางแผนเก็บเกี่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กริชชัย ขาวจ้อย, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

Lecturer at Faculty of Management Sciences, Phetchabun Rajabhat University

References

กฤตาพร พัชระสุภา. (2561). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเทคนิคการพยากรณ์สำหรับตัวแบบของตัวแปรเดียวกับข้อมูลที่มีฤดูกาล. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), น. 144-164.

กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์. (2563). สถานการณ์การผลิตพืชจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2563. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2563. จาก http://www.phetchabun.doae.go.th.

จารุวรรณ สิงห์ม่วง และ ธิดาพร ศุภภากร. (2563). ตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกยางพาราของประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 12(5), น. 58-82.

นวรัตน์ ฐิตินันท์พงศ์ และ ปรารถนา ปรารถนาดี. (2555). การพยากรณ์ราคารับซื้อมันสำปะหลังสดและราคาขายมันสำปะหลังเส้น. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50, น. 26-33.

นิตยา วงศ์ระวัง และกัญจนา ทองสนิท. (2555). การจัดการคลังสินค้าผ้าที่เหมาะสม สาหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555, น. 414-422.

บุญหญิง สมร่าง ,สุณี ทวีสกุลวัชระ, ยุพิน กาญจนะศักดิ์ดา และ ลักขณา เศาธยะนันท์. (2561). การพยากรณ์ราคาทุเรียนหมอนทองโดยวิธีบอกซ์ – เจนกินส์ และวิธีการของวินเตอร์. การประชุมวิชาและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2, น. 1656-1669.

ยุทธไกยวรรณ. (2549). การวางแผนและการควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ศีลวัชร์ แก้วพิจิตร และ ประจวบ กล่อมจิตร. (2564). การเปรียบเทียบวิธีพยากรณ์ความต้องการแกลบสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งหนึ่ง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4, น. 282-288.

สริญญา ศาลางาม. (2565). ตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยและวิธีโครงข่ายประสาทเทียม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(2), น. 55-64.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). รายงานสถานการณ์การพัฒนาจังหวัดจากตัวชี้วัดที่สำคัญตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2564. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

อดิศักดิ์ ทูลธรรม, นตาเตชะบุญมาส และ กวิน พินสำราญ. (2564). การพยากรณ์ความต้องการวัตถุดิบในการผลิตขนมปังบิสกิต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 5(2), น. 30-38.

Congdon, P. (2007). Bayesian Statistical Modeling. John Wiley & Sons, Hoboken.

Heizer, J., & Render, B. (2014). Operations Management Sustainability and Supply Chain Management (11th ed.). New York: Pearson Education.

Montgomery, D. C. (2008). Introduction to Statistical Quality Control (6th ed.). New York: Wiley, John and Sons.

Robert, C. P., & Casella, G. (2004). Monte Carlo Statistical Methods (2nd ed.). Springer: New York.