ตัวแบบอิทธิพลพฤติกรรมผู้นำของหัวหน้างาน ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงาน ในอุตสาหกรรมการผลิตเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์สังกัดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

วิไลพร วงษ์อินทร์
วิญญู พันธ์โต
อ้อมทิพย์ เมืองจีน
สมสมัย เทือกทา
กริชชัย ขาวจ้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมผู้นำของหัวหน้างานฝ่ายผลิตที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในอุตสาหกรรมการผลิตเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์สังกัดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชากรคือพนักงานระดับปฏิบัติการ งานวิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจำนวน 330 ราย โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสุ่มแบบเจาะจง การวิเคราะห์ทางสถิติใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า (1) ทั้งหมด 3 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งคนของหัวหน้างาน และความพึงพอใจในงานของพนักงาน มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานของหัวหน้างาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (2) ตัวแบบการวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (GFI = 0.901, CFI = 0.925, TFI = 0.901, IFI = 0.926, RMR = 0.032, p = 0.000) และ (3) พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งคนของหัวหน้างาน และพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานของหัวหน้างาน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความพึงพอใจในงานของพนักงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิรา แก้วบุตรา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(5), มกราคม – มิถุนายน 2554.

ดลญา พุดทอง และสมหมาย อ่าดอนกลอย. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการทำงานของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(2), กรกฎาคม–ธันวาคม 2557.

ธิดารัตน์ ผลถาวรกุลชัย และรัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่แท้จริง ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), มกราคม - มิถุนายน 2563.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาขน). https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Other-Industries/Medical-Devices/IO/medical-devices-21.

พระมหาบุญลือ พิพัฒน์เศรษฐกุล และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2554). พฤติกรรมภาวะผู้นำของอาจารย์ใหญ่กับความพึงพอใจของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(1), กรกฎาคม - ธันวาคม 2554.

ภัทราพร ตึกขาว และวรพงษ์ จันยั่งยืน. (2563). รูปแบบผู้นำที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), มกราคม - เมษายน 2563.

วราภรณ์ ช้างอยู่ และ สุทธิพร บุญส่ง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (2015): วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2).

สกล พันธมาศ, ชัยพจน์ รักงาม และสมุทร ชานาญ. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), พฤษภาคม–สิงหาคม 2558.

สุภัทรา พิจิตรศิริ และภัทรมนัส พงศ์รังสรรค์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบอย่างของหัวหนาหอผู้ป่วยกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคเหนือตอนลางสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 14(3), กันยายน-ธันวาคม 2563.

อรพิม พุทธวงษ์ และมาริสา ไกรฤกษ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลศูนย์กลางนครหลวงเวียงจันทน์. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 29(1).

Anderson, J., & Gerbing, D. W. (1988). Structural Equation Modeling in Practice: A Review and Recommended Two-Step Approach. Psychological Bulletin.

Byrne, B. M. ( 2010). Structural Equation Modeling with AMOS Basic Concept, Applications, and Programming. Second edition, Taylor and Francis group, LLC.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A., (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE Publications, Inc,.

Duadsuntia, T. & Theeravanich, A. (2016). The Relationship between Leadership Behaviors and Motivation, Organizational Commitment and Job Satisfaction of Salespersons in Retail Stores. Nakhon Phanom University Journal, 6(1), January – April 2016.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivaliate data analysis. 7th ed. US: Pearson Education.

Hatcher, L. (1994). A Step-by-Step Approach to Using the SAS System for Factor Analysis and Structural Equation Modeling. Cary, NC: SASInstitute Inc.

Herzberg, Frederick and others. (1959). The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons.

Hox, J.J. (2010). Multilevel analysis: Techniques and applications. 2nd ed. New York: Routledge.

Lunenburg. Fred and C. Ornstein Allan. (1996). Educational Administration : Concepts and Practice. 2nd ed. New York : Wadsworth Publishing Company

Nelson, D. L., & Quick, J. C. (1997). Organization. Behavior (2nd ed.). New York: Harper and Row

Thomas Willard Harrell. (1972). Industrial Psychology. New York: Holl Rinehart and Winston.