ปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 389 คน จากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย รวม 10 แห่ง เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีความสำคัญในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเรียงลำดับ 5 ลำดับแรก ได้แก่ (1) คาดหวังว่าจะประกอบอาชีพที่มีเกียรติ สร้างความภูมิใจต่อตนเองและครอบครัว (ปัจจัยด้านจิตวิทยา) (2) ตัดสินใจเพราะจะนำความรู้ที่ได้กลับมาประกอบอาชีพในท้องถิ่น (ปัจจัยด้านวัฒนธรรม) (3) ตัดสินใจตามความต้องการของตนเองที่ตั้งไว้(ปัจจัยด้านจิตวิทยา) (4) สามารถกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ (ปัจจัยด้านการตลาด) และ (5) หลักสูตรที่เปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน (ปัจจัยด้านการตลาด) ตามลำดับ และ 2) นักศึกษาที่มีเพศ อาชีพของบิดา-มารดา และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมที่ต่างกันตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไม่แตกต่างกัน ในขณะที่นักศึกษาที่มีรายได้ครอบครัวและคณะวิชาที่ศึกษาที่ต่างกันตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). (2564). บริการสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้น 8 มกราคม 2567, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/service/higher-education.html
ชัยวัฒน์ ขัตติวงค์ และพุฒิธร จิรายุส. (2561). ปัจจัยด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(3), 382-396.
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560 (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธนพัฒน์ อินทวี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 1-14.
นฤนาฏ สุวรรณ และภูษณิศา เดชเถกิง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นีรนาท เสนาจันทร์, ภัทรภร กินิพันธ์, นงนุช ไชยผาสุข, สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์, ดากาญ์นดา อรัญมาลา และ มาลีรัตน์ สาผิว. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันอุดมศึกษาให้กับบุตรหลาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(2), 92–102.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพค์รั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. (1 พฤษภาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก, หน้า 54.
ยุพา ไทยพิทักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาเอกชนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจหนองจอก กรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ ช่วยประคอง. (2562). การตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2564). หลักการตลาด: Principles of Marketing. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ท้อป.
สิริกานดา กองโชค. (2564). ทิศทางการศึกษาไทยกับความเปลี่ยนแปลงของโลก. กรุงเทพฯ: สำนักเจรจาการค้าบริการและการลงทุน.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2560). การจัดการศึกษาเด็กเล็กให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้น 30 มกราคม 2567, จาก https://old.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament _parcy/ewt_dl_link.php?nid=42029&filename=house2558
อัญชนา กัลยาเรือน, นิรมล พลแพงขวา และขวัญธิดา หลานเศษฐา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Kotler, P., & Keller, K. (2009). Marketing management. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harpers and Row.