พฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่น และปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่น ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 357 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.976 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ Shopee ในการเลือกซื้อเสื้อแฟชั่น โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 201-400 บาทต่อครั้ง และเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นออนไลน์ที่มีราคาถูก 2) ส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านพนักงาน ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ตามลำดับ และ 3) นักศึกษาที่มีอายุ คณะที่ศึกษาอยู่ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีระดับปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
References
กรชนก บุญสู่ทรัพย์ไพศาล. (2564). การศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมเกี่ยวกับเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา Hamburger Studio. (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชาญชัย ศุภอรรถกร. (2566). การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยองค์ประกอบ 7C กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(1), 46-69.
โชติกา เหล่าศรี, มณีกัญญา นากามัทสึ และฑิฆัมพร พันลึกเดช. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 6(2), 17-32.
ดลวัฒน์ วงษ์จันทร. (2561). ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของพลเมืองยุคดิจิทัล (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ไทยโพสต์. (2567). พาณิชย์เปิดเผยสถิติคนไทยช้อปออนไลน์เพิ่มต่อเนื่อง ชี้เศรษฐกิจดิจิทัลมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.thaipost.net/economy-news/543501/
พิชญธิดา ลิ้มสวัสดิวงศ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ภัทราพร เม้ามีศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าบนระบบ E-commerce (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสารสนเทศสถิติ). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัชชานนท์ ชัยเจริญ และประพล เปรมทองสุข. (2563). อิทธิพลของความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพของสินค้าที่มีต่อความไว้วางใจและความจงรักภักดีของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 291-304.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
ศุภวิชญ์ เหลืองจารุ และนิติพล ภูตะโชติ. (2566). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคออนไลน์. วารสารการเรียนรู้สมัยใหม่, 8(2), 1-18.
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2567). แนวโน้มอุตสาหกรรมแฟชั่นปี 2024 : ปัจจัยที่คาดว่าอาจส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมแฟชั่นท่ามกลางความไม่แน่นอนในปี 2024. สืบค้น 5 มิถุนายน 2567, จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.3892.1.0.html
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2566). สถิตินักศึกษา. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://acad2.srru.ac.th/
อรรถพร แจ่มอุทัย. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดในทัศนะของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 115-130.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Schiffman, L., & Kanuk, L. (2010). Consumer Behavior (10th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Yang Ying. (2017). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค (Facebook) ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.