ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษา น้ำตกโตนงาช้าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

จักรพันธ์ แก้วสว่าง
ชัญญานุช แกล้วทนงค์
พงศ์พัฒน์ จุลมณีโชติ
พรธิตา เพ็ชเส้ง
พลอยชมพู โมสิกรัตน์
สิรภัทร กำแหง
จารุวรรณ ทองเนื้อแข็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษาน้ำตกโตนงาช้างและ (2) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษาน้ำตกโตนงาช้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวน้ำตกโตนงาช้าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 120 คน งานวิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวน้ำตกโตนงาช้าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับสูง โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านสิ่งดึงดูดใจอยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงและการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการจัดหางาน. (2565). ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคกลาง. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://secretary.mots.go.th/policy/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลิตา เฉลิมรักชาติ. (2560). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ช้อปชิมเที่ยวสงขลา. (2562). เมืองเสน่ห์แห่งสงขลา. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.museumthailand.com/th

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมอันดามัน : จุดเปลี่ยนอันดามันสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : แอนด์ ดีไซน์.

ปิยวรรณ คงประเสริฐ. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11, 20-34.

สมศรี นวรัตน์. (2555). ความหมายของความคาดหวัง. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/465582

สุพัตรา เพ็งเกลี้ยง อัมรินทร์ สันตินิยมภักดี และธมลชนก คงขวัญ. (2559). ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

Collier, A, & Harraway, S. (1997). Principle of tourism. Auckland : Longman.

Cooper, C., & Boniface, B. G. (1998). Geography of travel and tourism. UK : Butterworth Heinemann.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7th ed.). Harow, Essex: Pearson.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York : McGraw-Hill.

tourismatbuu. (2554).Tourism of world. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://tourismatbuu.wordpress.com/อุตสาหกรรมการท่องเที่ย/ความหมายและความสำคัญขอ/