ความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ การทดสอบทีและการทดสอบเอฟที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยรวมทั้ง 4 ด้าน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านอาคาร สถานที่ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านพนักงานจัดเก็บรายได้ และด้านการบริหารการจัดเก็บรายได้ ตามลำดับ ส่วนด้านนโยบายการจัดเก็บรายได้ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ประชาชน ที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). สรุปสาระสำคัญมาตรฐานการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครอง.
กันตินันท์ นกขุนทอง. (2559). การจัดเก็บรายได้ขององค์การบริการส่วนตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2546). การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ขนิษฐา สิทธิชัย. (2562). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง (ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต). ตรัง : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นัยนา ดวนใหญ่ (2559). ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
เนตรชนก ศรีโท (2559). ประสิทธิผลการจัดเก็บรายได้องค์การบริหารส่วนตำบลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปัญญ์ประดับ จรเอ้กา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พจณีย์ สง่าไทย (2557). คุณภาพการให้บริการงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 3(5), 62.
วาสนา ขอนทอง. (2559). แนวทางการดำเนินงานด้านการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร (วิทยานิพนธ์การปกครองท้องถิ่นมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ศิริพร สีสว่าง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 633 - 649.
สมฤทัย มานิตย์. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 75 - 82.