คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

Paloj Inthawong

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตาม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความตั้งซื้อสินค้าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่เคยเห็นการขายสินค้าผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 420 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ t-Test, F-Test และ Multiple Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความตั้งใจซื้อสินค้า ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แตกต่างกัน และยังพบว่า คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านประสิทธิภาพของการใช้งาน ด้านความพร้อมของระบบ และด้านการตอบสนองลูกค้า มีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่ด้านการชดเชยลูกค้าเมื่อเกิดความเสียหาย มีอิทธิพลทางลบต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านโซเซียลมีเดียแพลตฟอร์ม สามารถอธิบายความแปรผันของคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ 31% (R2 =0.310)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ แซ่อิ้ว. (2559). ผลกระทบของคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].

ชลติกานต์ ทิศเสถียร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภค ระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ณัฐพล ใยไพโรจน์ และ อาราดา ประทินอักษร. (2566). ทำการตลาดให้บรรลุผลบน Social Media. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

นาซียะฮ์ มะหมัด, สุภาพร ดิสวัสดิ์ และ โกมลมณี เกตตะพันธ์. (2565). การโฆษณาผ่านสื่อประเภทวิดีโอที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์. ใน วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ (บ.ก.), การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 (น. 2849-2865). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วราพรรณ อภิศุภะโชค และ ศิริพร เลิศไพศาลวงศ์. (2560). คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. Journal of Studies in the Field of Humanities, 24(2), 30-47.

วัชระ เวชประสิทธิ์, ฐานิดา สุริยะวงศ์, ชนิดาภา อายาบาล, มณฑนา สมพงษ์ และ อารยา จงใจรักษ์. (2564). คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(1), 115-123.

สรณะ จันทร์วีนุกูล. (2565). คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ของร้านค้าออนไลน์และความรอบรู้ด้านสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). England: Pearson Education Limited.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. (15th ed.). Pearson.

Lee, G. G., & Lin, H. F. (2005). Customer perceptions of e-service quality in online shopping. International journal of retail & distribution management, 33(2), 161-176.

Liu, T. H. (2012). Effect of e-service quality on customer online repurchase intentions. (Doctor of Philosophy). US: Lynn University.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Malhotra, A. (2005). E-S-QUAL: A multiple-item scale for assessing electronic service quality. Journal of Service Research, 7(3), 213-233.