ความจงรักภักดีในการเลือกใช้บริการร้านอาหารริมทางของผู้บริโภคในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการร้านอาหารริมทางในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการร้านอาหารริมทางในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากผู้ใช้บริการร้านอาหารริมทางในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาด้วยวิธี จำนวน 434 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน Independence-Samples T-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ ด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความจงรักภักดีในการเลือกใช้บริการร้านอาหารริมทางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และลักษณะประชากรศาสตร์ ด้านเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความจงรักภักดีในการเลือกใช้บริการร้านอาหารริมทางไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารริมทางควรพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเกิดความประทับใจซึ่งจะทำให้เกิดความจงรักภักดีอันจะนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันต่อคู่แข่งต่อไป
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ภัยร้ายอาหารริมทาง “ฝากท้อง” หรือ “ฝากโรค. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม, 2564 จาก https://www.gedgoodlife.com/health/6568
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพ: สามลดา
กุลวดี อัมโภชน์ และชลธิศ ดาราวงษ์. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 13(1), 43-55.
นัทธีรา พุมมาพันธุ์. (2557). กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), 1-14.
ปิณฑิรา นาคนุช, สุธรรม พงศ์สำราญ และอิงอร ตั้นพันธ. (2565). พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารร้านริมทาง ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่สวนหลวงกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(6), 37-46.
พัชรา จูเอี่ยม และนพดลโตวิชัยกุล (2563). ทัศนคติการบริโภคอาหารริมทางต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกร้านอาหารริมทางบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 4(1). 63-76.
โพสต์ทูเดย์. สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย Empowering Food Industry ผลักดันยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารไทย 4.0. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม, 2564 จากhttps://www.posttoday.com/economy/news/52765
รจิต คงหาญ และอนุชิต แสงอ่อน. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจร้านอาหารริมทางสมัยใหม่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 91-103.
วัลลภา โพธาสินธ์, เสาวนีย์ ลาดน้อย, สราวุธ เนียนวิฑูรย์ และอบเชย วงศ์ทอง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารริมบาทวิถีของคนกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(5), 34-44.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). เส้นทางสู่ความภักดี From Customer Journey to Brand Loyalty. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม, 2564 จาก https://marketeeronline.co/archives/91075
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2563). อาหารการกินของคนไทย ปี 2020. ค้นเมื่อ 4 มกราคม, 2564 จาก https://siamrath.co.th/n/201554
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ:สามลดา.
หทัยทิพย์ เสน่ห์ดุษฎี, คาล จามรมาน และเกษมสุข เขียวทอง. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานเจนวายในโรงแรม5 ดาวย่านสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 205-217.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.