การศึกษาสภาพการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ศิริพงษ์ เหมมั่น

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 2 กลุ่ม ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟน้ำหนาวอาราบิก้าและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนป่าอุ่นคนอิ่ม จำนวน 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกกลุ่มคำและการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์สรุปในรูปแบบของความเรียงเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) การรวมกลุ่มเริ่มจากมีผู้นำกลุ่มที่มีวิสัยทัศน์ กล้าคิดกล้าตัดสินใจ มีความรู้ความเชี่ยวชาญการปลูกและผลิตเมล็ดกาแฟ ได้ชักชวนเกษตรกรที่มีแนวความคิดและมีปัญหาคล้าย ๆ กัน มาร่วมกันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา และได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ 2) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมีการรวมกลุ่มยังไม่เหนียวแน่น ยังขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการผลิตและการตลาด บางครั้งสมาชิกกลุ่มไม่สามารถมาร่วมผลิตสินค้าของกลุ่มได้ ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐด้านเครื่องมือในการดำเนินกิจการที่มีประสิทธิภาพและความรู้ด้านการตลาดสมัยใหม่ ผลผลิตได้น้อยและไม่ได้คุณภาพ ทำให้มีตลาดในการรับซื้อผลผลิตแคบ และที่สำคัญขาดผู้ที่จะมาสานงานของวิสาหกิจชุมชนต่อจากคนรุ่นเก่า 3) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟได้ให้ความสนใจการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยประธานกลุ่มจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนากลุ่ม จะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความสามัคคีนำไปสู่การรวมกลุ่มที่เหนียวแน่น หมั่นแสวงหาความรู้ด้านการตลาดเรียนรู้วิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นเพื่อให้เกิดความหลากหลาย โดยจัดหาวิทยากรมาฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่ม ชักชวนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาร่วมกลุ่มและสอนงานให้สามารถทำหน้าที่แทนกันได้ จัดให้มีสถานที่ในการประชุมที่สะดวกเพื่อเป็นศูนย์กลางการนำปัญหาด้านต่าง ๆ มาปรึกษาหารือกัน ควรจัดให้มีโครงการศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการค้าภายใน. (2566). กาแฟ. สืบค้น 2 เมษายน 2567, จาก https://agri.dit.go.th/file/micro/ad2-24-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F.pdf

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564ก). การผลิตกาแฟอาราบิก้าคุณภาพบนพื้นที่สูง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564ข). กรมส่งเสริมการเกษตร คว้ารางวัลเลิศรัฐฯ บริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลร่วมใจแก้จนประจำปี พ.ศ. 2564 ระดับดีเด่น ด้วยผลงานโครงการวิสาหกิจชุมชนภายใต้แปลงใหญ่ ร่วมใจแก้จน ชุมชนผู้ปลูกกาแฟน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้น 2 เมษายน 2567, จาก https://doaenews.doae.go.th/archives/10961.

กรมวิชาการเกษตร. (2565). โค้งสุดท้ายเข้มข้นประกวดสุดยอดกาแฟไทย. สืบค้น 2 เมษายน 2567, จาก https://www.doa.go.th/th/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%89%A.

กลุ่มพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. (2562). คู่มือนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิวธรรมดา การพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.

จุฑาธิป ประดิพัทธ์นฤมล, ขนิษฐา ไชยแก้ว, คงเดช พะสีงาม, จิรศิต อินทร, ผกาวดี ภู่จันทร์ และ พัสกร ลี้วิศิษฏ์พัฒนา. (2565). การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของกระบวนการกาแฟเพื่อความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านรักไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 22(1), 15-27.

เฉลิมพันธุ์ บุตรตานนท์, พหล ศักดิ์คะทัศน์, พุฒิสรรค์ เครือคำ, นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย และ ธีร์ธวัช ปุรินทราภิบาล. (2563). การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปกาแฟในตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 2(1), 33-44.

ฐานเศรษฐกิจ. (2566). ตลาดกาแฟ ไทยยังรุ่ง 7 เดือนโต 7.7% สนค.แนะทำกาแฟพิเศษส่งออก. สืบค้น 2 เมษายน 2567, จาก https://www.thansettakij.com/business/economy/573032.

พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี, พระครูวิทิต ศาสนาทร, อุเทน ลาพิงค์, พร้อมพล สัมพันธโน, และ สรวิศ พรมลี. (2565). การพัฒนาศักยภาพและยกระดับวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟอินทรีย์บนพื้นที่สูงชุมชนบ้านขุนแม่หยอด จังหวัดเชียงใหม่ ตามศาสตร์พระราชาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(10), 61

เพียงกานต์ นามวงศ์, ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น และ ศิริขวัญ ปัญญาเรียน. (2564). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาแฟพิเศษ ของชุมชนผู้ปลูกกาแฟ ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(1), 137-151.

ภัทรภรณ์ จุมพรหม. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบความหมายและหลักการระหว่างวิสาหกิจเพื่อสังคมและวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(4), 128-141.

ภูริพัฒน์ แก้วศรี. (2561). การเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(1), 293-305.

รัชนีกร ปัญญา. (2566). การพัฒนาระบบบริหารการดำเนินเพื่อความโปร่งใสของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 33(1), 35-51.

วรรณภา เดชครุฑ และ ดรุณี นาพรหม. (2560). งานวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบคุณภาพและองค์ประกอบทางชีวเคมีของเมล็ดกาแฟอะราบิก้าอินทรีย์ที่ปลูกในระดับความสูงพื้นที่ที่แตกต่างกัน. วารสารเกษตร, 33(2), 163-173.

วิภาดา ญาณสาร และ ศักดิ์สายันต์ ใยสามเสน. (2564). กาแฟป่าอินทรีย์: รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญาสร้างสรรค์ บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นของวิสาหกิจกาแฟชุมชน บ้านป๊อก อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 6(3), 407-422.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ราคากาแฟพุ่งในรอบ 11 ปี ดันมูลค่านำเข้ากาแฟไทย ปี 65 ขยายตัวสูง. สืบค้น 2 เมษายน 2567, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/ Coffe-FB-23-11-2022.aspx.

สุกัญญา ดวงอุปมา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(2), 133-139.

เสกสรรค์ ดวงสิงห์ธรรม, ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล, สุรพล เศรษฐบุตร และ ณฐิตากานต์ พยัคฆา. (2566). สภาพการผลิตกาแฟอาราบิก้าของเกษตรบ้านปางไฮ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร, Suppl.1, 83-89.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). กาแฟ. สืบค้น 2 เมษายน 2567, จาก http://www.agriman.doae.go.th /home/news/2566/16coffee.pdf.