แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์การบริหารงบประมาณของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน (2) เพื่อระบุปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงบประมาณของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (3) เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารงบประมาณของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในปัจจุบันเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงบประมาณของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ขาดการทบทวน เป้าหมาย ตัวชี้วัดขาดระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์ และบุคลากรขาดทักษะความรู้ (3) แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน การทบทวน เป้าหมาย ตัวชี้วัด การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และการพัฒนาบุคลากร
Article Details
References
ประภัสสร เจริญนาม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชนในเขตบริการ สุขภาพที่ 3-6. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี.
มานพ เนียรภาค. (2556). ประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานี ตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
รชิตา วรัตถ์ธนพิตญ์ (2559 ).ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครปฐม.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ : เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2541). การปฏิรูประบบราชการ : ยุทธศาสตร์สำคัญของการ เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.(2559).งานวิจัยรูปแบบกระบวนการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ ของสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้กรอบมาตรฐานการควบคุมภายในของหน่วยงาน ภาครัฐ.กรุงเทพมหานคร : กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวงสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
อรสา จุลสุคนธ์ และคณะ.(2555). ปัจจัยความสำเร็จของการใช้งบประมาณในการวิจัยของนักวิจัยในกรม วิชาการเกษตร. (ปริญญาเกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
Boston, J. (1996). Origins and destinations: New Zealand’s model of public management and the international transfer of ideas’ In P. Weller & G. Davis (Eds), New ideas, better government. Sydney: Allen & Unwin.
Drucker, Peter F. (1967). The Effective Executive. New York : Harper & Row.
Emmanuel Ikechukwu Okoye. (2011). Budgeting as a Management Tool for Improving Effectiveness of an Organization. Retrieve From https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1804251July
Guo-Liang Dua and Dan Xiab. (2019). Research on University Budget Management from the Perspective of Internal Control. Retrieve From https://dx.doi.org/10.2991/icmesd- 19.2019.57
Jiachao Rong, Yang Zhang. (2018). Research on the Construction of an Enterprise Total Budget Management System Based on EVA. Retrieve From https://iopscience.iop.org/article /10.1088/1757-899X/394/5/052078/pdf
John Ugoani. (2019). Budget Management and Organizational Effectiveness in Nigeria.
Retrieve From https://ssrn.com/abstract=3368912