ประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ

Main Article Content

ไชยรัตน์ เขียวหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ตรวจสอบประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ (3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ กับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีที่ตั้งในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 260 คน การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเบี่ยงเบนทางเดียว สหสัมพันธ์เพียรสัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) ด้านประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ ความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายการจัดการพื้นที่ให้สถานศึกษาปลอดสารเสพติดและอบายมุขในสถาบันอุดมศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปฏิบัติ ที่ระดับ .001

Article Details

บท
Research Article

References

ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์, จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ และพัชรีภรณ์ ชมภูวิเศษ. (2565). แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็ก และเยาวชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ. Journal of MCU Ubon Review, 7(1), 120 – 160.

บุญชัย พิริยะกิจกำจร และนริชร ชูติพัฒนะ (มกราคม-เมษายน 2561). แนวทางป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ ของเยาวชนจังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณะสุขภาคใต้. 5(1), 108 – 122.

บรรพต สุขัง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2536). หลักการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วรลักษณ์ หิมะกลัส. (2019). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการประกันสุขภาพ.https://www.thaihealth.0r.th, 3rd September 2019

ศิริพร เขียวไสว. (2550). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2543). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สิริกร นามถาบุตร และวรานิษฐ์ ลำไย. (พฤษภาคม - สิงหาคม2561). การประเมินประสิทธิผลของมาตรการระดับประเทศด้านสี่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ จังหวัดหนองคาย. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 4(2), 130 – 173.