การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี ( 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี โดยรวมและเป็นรายด้าน จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการทำงาน รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี โดยจำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านพบว่าเพศแตกต่างมีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร แตกต่างและจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างมีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร ไม่แตกต่าง
Article Details
References
กระทรวงยุติธรรม. (2564). พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตอักษร.
กัญญาณัฐ สันเต. (2564). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, นครราชสีมา.
กิตติวงค์ สาสวด และปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
ในกลุ่มเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัยและ
พัฒนาสังคม, 10(2), หน้า 116 – 124.
จุไรรัตน์ ดีเพชร. (2562). การดำเนินงานการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาการ
บริหารการศึกษา คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี, จันทบุรี.
ณัฐพร สมบัติ. (2562). การบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนขามแก่น
นครอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขารัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.
ณัฐวุฒิ บุตรธนู. (2564). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษา
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ,มหาสารคาม.
ดิเรก บูรณ์เจริญ. (2554). สภาพการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท. สาขาการบริหาร
การศึกษา คณะครุ ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2563). การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียน
อนุบาลเมืองอุทัยธานี. เข้าถึงได้จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/
download/240055/164281/831840.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2564). กฎหมายยาเสพติด.
เข้าถึงได้จาก: https://www.oncb.go.th/Pages/main.aspx.
อรรถศาสตร์ ศรีชัย. (2565). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษา
สหวิทยาเขตเบญจสิริ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. เข้าถึงได้
จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/261393.
Thai PBs. (2565). ยาบ้ากี่เม็ดเท่ากับผู้เสพ เข้าบำบัดรักษา. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipbs.or.th.