การจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาดหัวหินและเขาตะเกียบ เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สี่ประการ วัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่อประเมินระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว กับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการ (4) เพื่อพยากรณ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณกลุ่มตัวอย่าง 300 คนจากประชาชนในพื้นที่อำเภอหัวหิน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา (1) ด้านระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด หัวหินและเขาตะเกียบ เทศบาลเมืองหัวหินพบว่าอยู่ในระดับมาก (2) ด้านเปรียบเทียบการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด พบว่ามีความแตกต่างกันด้านเพศ (3) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยวพื้นที่ชายหาด พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ พื้นที่ชายหาด อย่างมีนัยสำคัญและ (4) ด้านการพยากรณ์พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการสามารถพยากรณ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว ได้เกินร้อยละ 66.1 โดยมีตัวแปรที่มีอำนาจการพยากรณ์ประกอบด้วย การวางแผนการจัดองค์กร การโน้มนำและการติดตามผล
Article Details
References
ธนิชชา ชัยชัชวาลประทีปและชวลีย์ ณ ถลาง. (พฤษภาคม-สิงหาคม 2563). ยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อ
การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษา ความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, 9(2), หน้า5-9.
รุจิโรจน์ อนามบุตร. (2015). NAJUA: Architecture, Design and Built Environment.เข้าถึงได้จาก:
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44314
นรินทร์ สังข์รักษา. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องเครือข่ายการผลิตสินค้าการเกษตรและห่วงโซ่อุปทาน
ของจังหวัดนครปฐมเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม.นครปฐม: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Allen, Louis A. (1958). Organization and Management. New York: McGraw-Hill.
Gibson, J.L., Ivancevich, J.M., & Donnelly, J.H. (1982). Organization Behavior Structure Process
(3rd ed.). Texas: Business Publication, Inc.
Surin On–prom. (2014). Community Based Mangrove Forest Management in Thailand: Key
Lesson Learned for Environmental Risk Management. คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
Teechawan Yanudom. (2001). The conservation of Mangrove Forest by Local people; case
study of Ngao sub district Muang District Ranong Province. Thesis M.A.
Environment.Mahidol University.
ภิญญาพัชญ์ สรณวัชรเอกากุล.(2566). คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์กับการบริหารการพัฒนาชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่,ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารสาธารณะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้,เชียงใหม่