ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในโรงงานอุตสาหกรรมเมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจ การผลิต นวัตกรรม และความยั่งยืน (2) ปัจจัยการผลิต นวัตกรรม เป็นปัจจัยส่งผ่านระหว่างแรงจูงใจสู่ความยั่งยืน และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในโรงงานอุตสาหกรรมเมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่เมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 240 ตัวอย่าง มีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้มาตราส่วนประมาณค่า วัดความเที่ยงตรง วัดความเชื่อมั่น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเพื่อสอบย้ำตัวแบบเชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยแรงจูงใจ การผลิต นวัตกรรม และความยั่งยืน ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ตัวแบบที่วิเคราะห์ คือ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่เมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา มีค่าดัชนีความกลมกลืน คือ X2/df= 2.748, RMSEA = 0.064, RMR = 0.035. ซึ่งเส้นอิทธิพลของทุกปัจจัยส่งผลต่อศักยภาพด้านแรงจูงใจในการผลิตเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และ (3) ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่ มีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจในการผลิตเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างยั่งยืน ในโรงงานอุตสาหกรรมเมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่เมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา
Article Details
References
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2564). โครงการแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมา. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://office.dpt.go.th/spd/th/general-press-release/9546.
จังหวัดนครราชสีมา. (2564). กฎกระทรวงผังเมืองรวม. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https:// data.go.th/organization/dpt-nakhonratchasima.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). ถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26). เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://www.onep.go.th/2.
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา. (2566). ข้อมูลและสภาวะอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ปี 2566. เรียกใช้เมื่อ https://nakhonratchasima.industry.go.th/th.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2554). แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก http://ghginfo.tgo.or.th/index.php/th/?option =com.
Bocken. N. (2014). A Literature and Practice Review to Develop Sustainable Business Model Archetypes. Journal of Cleaner Production, 65, 42-56.
Bevins, D. (2018). Herzberg's Two Factor Theory of Motivation: A Generational Study (Honors Theses). Eastern Kentucky University, Richmond.
COP 26, (2021). COP26: Together for our planet. Accessed January 9, 2023, from https://www.un.org/en/climatechange/cop26.
Fahriana, C., & Sopiah, S. (2022). The Influence of Work Motivation on Employee Performance. Asian Journal of Economics and Business Management, 1(3), 229-233.
Greenpeace. (2023). COP Global Climate Conference. Accessed August 19, 2023, from https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/climate/cop-conference/?
Joyce, A., & Paquin, L. (2016). The Triple Layered Business Model Canvas: A Tool to Design More Sustainable Business Models. Concordia University. John Molson School of Business, MB.
Lundvall, B. (1985). Product Innovation and User-Producer Interaction. Accessed August 19, 2023, from https://www.semanticscholar.org/paper/Product-Innovation.
Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Bros.
MSCI. (2023). Climate Action Indexes. Accessed August 19, 2023, from https://www. ClimateChange.com/our-solutions/indexes/climate-action-indexes?
Miner, J. B. (2005). Organizational Behavior 1. Essential Theories of Motivation and Leadership. Accessed August 19, 2023, from http://www.MinerJ.B.-_OrganizationalBehaviorI E%20(1).pdf.
Nguyen, T., Nham, T., Froese, F., & Malik, A. (2019). Motivation and Knowledge Sharing: A Meta-Analysis of Main and Moderating Effects. Journal of Knowledge Management. 23(2), 998-1016.
Schmitt, T., Faaland, B., & McKay, M. (2023). Economic Production with Poisson Demand, Lost Sales, Fixed-Rate Discrete Replenishment, And a Constant Setup Time. Production and Operations Management. 32(12), 3968-3985.
Schunk, H., & Usher, E. (2019). Social Cognitive Theory and Motivation. Accessed August 19, 2023, from https://nibmehub.com/opac-service/pdf/read/.
Tobias, W., Herrmann, C., & Thiede, S. (2017). Industry 4.0 Impacts on Lean Production Systems. Procedia Cirp. 63, 125–131.
UNCCD. (2017). Sustainable Land Management Contribution to Successful Land-Based Climate Change Adaptation and Mitigation, a Report Of The Science-Policy Interface. Accessed August 19, 2023, from https://www.unccd.int/sites/default/files/documents/2017-09/UNCCD_Report_SLM_web_v2.pdf.
UNFCCC. (2021). The Glasgow Climate Pact– Key Outcomes from COP26. Accessed August 19, 2023, from https://unfccc.int/process-and-meetings/the-paris-agreement/the-glasgow-climate.
Westland, C. (2010). Lower Bounds on Sample Size in Structural Equation Modeling. Electronic Commerce Research and Applications (Elsevier). 9(6), 476-487.
Yamane, T. (1973). Research Methodology/Sample Size. Florida: University of Florida.
Yin, Y., Stecke, K., & Li, D. (2017). The Evolution of Production Systems from Industry 2.0 Through Industry 4.0. International Journal of Production Research. 56(1-2), 848-861.
Zawadzki, P., & Krzysztof, Z. (2016). Smart Product Design and Production Control for Effective Mass Customization in the Industry 4.0 Concept. Management and Production Engineering Review. 7(3), 105–112.
Zehir, C., Can, E., & Karaboga, T. (2015). Linking Entrepreneurial Orientation to Firm Performance: The Role of Differentiation Strategy and Innovation Performance. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 210(2), 358-367.