ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยการจัดการ อำนาจละมุน วัฒนธรรม และความยั่งยืน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจทางวัฒนธรรมพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจทางวัฒนธรรม ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 250 ตัวอย่าง มีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้มาตราส่วนประมาณค่า วัดความเที่ยงตรง วัดความเชื่อมั่น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเพื่อสอบย้ำตัวแบบเชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการ อำนาจละมุน วัฒนธรรม และความยั่งยืน ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ตัวแบบที่วิเคราะห์คือ ผู้ประกอบการธุรกิจทางวัฒนธรรมพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่ มีค่าดัชนีความกลมกลืน คือ X2/df= 2.845, RMSEA = 0.073, RMR = 0.037 ซึ่งเส้นอิทธิพลของทุกปัจจัยส่งผลต่อศักยภาพด้านความยั่งยืนของอำนาจละมุนทางวัฒนธรรม และ (3) ผู้ประกอบการธุรกิจทางวัฒนธรรมพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่ มีความสามารถในการจัดการอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของผู้ประกอบการธุรกิจทางวัฒนธรรมพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูง
Article Details
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2566). 21 ปี กระทรวงวัฒนธรรมนำคุณค่า พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/72941.
กรมศิลปากร. (2566). ทำไมต้องรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://www.finearts.go.th/promotion/view/7333.
สุดที่รัก นุชนาถ และ สุมาลี รามนัฏ. (2565). ซอฟต์พาวเวอร์คุณค่าตราสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการสู่การตัดสินใจบริโภคซีรีส์วายในกรุงเทพมหานคร. Journal of Management Science NakhonPathom Rajabhat University. 9(2), 122-136.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). สรุปผลการศึกษา SMEs ประเทศไทย: บทบาทเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม.เรียกใช้เมื่อ 30 มกราคม 2566 จากhttp://www.sme.go.th /upload/mod_download/Chapter7-20171024122055.pdf.
Barnett, M. (2020). Change In or Of Global Governance?. International Theory, 13 (1), 131–43.
Chen, Y.M., Liu, H.H., Ni, Y.T., & Wu, M. F. (2015). A Rational Normative Model of International Expansion: Strategic Intent Perspective, Market Positions, and Founder Ceos/Family-Successor Ceos. Journal of Business Research. 68(7). 1539-1543.
Fatehi, K., Priestley, J. L., & Taasoobshirazi, G. (2020). The expanded view of individualism and collectivism: One, two, or four dimensions?. International Journal of Cross Cultural Management. 20(1), 7–24.
Fioreto, O., & Tallberg, J. (2021). Politics and Theory of Global Governance. International Theory. 13, 99–111.
Global Soft Power Index. (2021). Global Soft Power Index 2021: 15 Nations from MENA Feature. Accessed August 19, 2023 from https://brandfinance.com/press-releases/global-soft-power-index-2021-15-nations-from-mena-feature.
Hofstede, G., & Bond M. H. (1988). The Confucius Connection: From Cultural Roots to Economic Growth. Organizational Dynamics. 16(4), 4-21.
Le, T. N., & Doukas, K. M. (2013). Making Meaning of Turning Points in Life Review: Values, Wisdom, and Life Satisfaction. Journal of Religion, Spirituality & Aging, 25, 358–75.
Makower, J. (2019). The State of Green Business, 2019. Accessed August 19, 2023, from https://www.greenbiz.com/article/state-green-business-2019.
Mattern, J. B. (2005). Why `Soft Power' Isn't So Soft: Representational Force and the Sociolinguistic Construction of Attraction in World Politics. Millennium Journal of International Studies. 33(3), 583-612.
Nakata, C., & Sivakumar, K. (2003). Designing Global New Product Teams: Optimizing the Effects of National Culture on New Product Development. International Marketing Review. 20(4), 397−445.
Nye, J. S. (2002). The Information Revolution and American Soft Power. Asia Pacific Review. 9(1), 60-76.
Nye, J. S. (2002). The Decline of America’s Soft Power: Why Washington Should Worry. Foreign Affairs. 83(3), 16-20.
Nye, J. S. (2021). Soft power: the Evolution of a Concept. Journal of Political Power. 14(1), 1979-2019.
Porter, M., & Linde, V. (1995). Green and Competitive. Harvard Bus. Sustainable Business Practices. 73(5), 120–134.
Silvestre, B., & Neto, S. (2014). Enhancing Socio-Ecological Value Creation through Sustainable Innovation 2.0: Moving Away from Maximizing Financial Value Capture. Journal of Cleaner Production. 171, 1593-1604.
Taylor, F. W. (1911). The Principles of Scientific Management. Accessed August 19, 2023, from https://nationalhumanitiescenter.org/pds/gilded/progress/text3/taylor.pdf.
Westland, C., (2010). Lower Bounds on Sample Size in Structural Equation Modeling. Electronic Commerce Research and Applications. Elsevier. 9(6), 476-487.
Yamane, T. (1973). Research Methodology/Sample Size. Florida: University of Florida.