การมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมของธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม บริบททางสังคม และธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน ศึกษาปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน และเพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมของธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในชุมชนพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้นำชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ของประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจชุมชนของประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง มีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้มาตราส่วนประมาณค่า วัดความเที่ยงตรง วัดความเชื่อมั่น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเพื่อสอบย้ำตัวแบบเชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมของธุรกิจรักษ์โลกในชุมชนทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยตัวแบบที่วิเคราะห์คือ ผู้ประกอบการธุรกิจในชุมชนพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้นำชุมชนในพื้นที่ มีค่าดัชนีความกลมกลืน คือ = 2.935, RMSEA = 0.076, RMR = 0.034 ซึ่งเส้นอิทธิพลของทุกปัจจัยส่งผลต่อศักยภาพด้านธุรกิจรักษ์โลกในชุมชนโดยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจในชุมชนพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้นำชุมชนในพื้นที่ มีความสามารถในการจัดการธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของชุมชนในพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้นำชุมชนในพื้นที่
Article Details
References
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). PF+KM ถ่ายทอดความรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://www.ftpi.or.th/wp-content/uploads/2016 /10/.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). สรุปผลการศึกษา SMEs ประเทศไทย: บทบาทเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก http://www.sme.go.th/ upload/ mod_download/Chapter7-20171024122055.pdf.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ความท้าทายด้าน ESG ที่ควรจับตามองในปี 2566 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3382). เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/result-tags.aspx?k=F2006C76-2A60-4B3C-AF3C-E1FD72296944.
Acton, B., Foti, R., & Lord, R. (2019). Putting Emergence Back in Leadership Emergence: A Dynamic, Multilevel, Process-Oriented Framework. The Leadership Quarterly. 30(1), 145–164.
Archer, J. (1992). Childhood Gender Roles: Social Context and Organization. Accessed August 19, 2023, from https://www.taylorfrancis.com/chapters/edit/10.4324/9781315785042-3/child hood-gender-roles-social-context-organisation-john-arche.
Berkley, J. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society, 6(4), 200.
Cheung, M. L., Pires, G., & Rosenberger, P. J. (2020). The Influence of Perceived Social Media Marketing Elements on Consumer–Brand Engagement and Brand Knowledge. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics. 32(3), 695–720.
Deming, W. (1931). Some Physical Properties of Compressed Gases 1. Physical Review, 38, 2245-2264.
Hossain, H., & Kader, M. (2020). An Analysis on BCG Growth Sharing Matrix. International Journal of Contemporary Research and Review, 11(10), 21899−21905.
Likert, R. (1967). The Human Organization. (edition). New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
Lim, W., & Rasul, T. (2022). Customer Engagement and Social Media: Revisiting the Past to Inform the Future. Journal of Business Research. 148, 325-342.
Makower, J. (2019). The State of Green Business, 2019. Accessed August 19, 2023, from https://www.green biz.com/article/state-green-business-2019.
TBCSD, (2022). Let’s Save the World Together. Green Society. Accessed August 19, 2023, from https://www.tei.or.th/file/library/2022-TBCSD-GreenSociety-y14-1_64.pdf.
Towerswatson. (2010). Five Rules for Talent Management in the New Economy. (Ed). New York Towers Watson.
Yamane, T. (1973). Research Methodology/Sample Size. Florida: University of Florida.