ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ธนาเดช ธนาธารชูโชติ
ศุภศักดิ์ บุญดี
กนกรส สุดประไพ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณค่าตราสินค้า และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (2) การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้ากับการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับผู้ตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวภายในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 385 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ


         ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยคุณค่าตราสินค้า และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.07 และ 4.16 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .965 และ .964 ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานะทางครอบครัวที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) คุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์ต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมาได้ร้อยละ 71.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวิกา ใจปินตา และ สุทธดา ขัตติยะ. (2565). คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในอำเภอเมืองเชียงรายจังหวัดเชียงราย. ใน รายงานการประชุม Graduate School Conference ครั้งที่ 4 (น. 514). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ปริสุทธิ์ รัตนมหาวงศ์ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ทางการตลาดกลยุทธ์ทางการแข่งขันและคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม (อาคารชุด). วารสารจันทรเกษมสาร. 27(2), 373-389.

พภัสสรณ์ แช่มศักดิ์สิทธิ์ และวรินรำไพ รุ่งเรื่องจิตต์. (2563). การสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนผสมทางการตลาดในมุมมองผู้บริโภค และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมระดับกลาง บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติในความร่วมมือ 5 สถาบัน ประจำปี 2563 (น. 306-315). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พันชั่ง ป้องปัดโรคา, และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยขนาดกลางในพื้นที่นอกเขตเมืองใหญ่. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 27 (น. 11-19). เชียงราย: โรงแรม เดอะ เฮอริเทจ เชียงราย.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2566). สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2567 จาก https://reic.or.th/Activities/PressRelease/188

ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2566). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2566-2568 : ธุรกิจที่อยู่อาศัย (6 จังหวัดหลักภูมิภาค. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2567 จาก https://www.krungsri.com/th/ research/industry/industry-outlook/real-estate/housing-in-upcountry/io/io-housing-in-upcountry-2023-2025

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2565 สะท้อนภาพการฟื้นตัว แต่ยังไม่ทั่วถึง. เรียกใช้เมื่อ 19 พฤษภาคม 2566 จาก https://kasikornresearch.com

Hair, E., et al. (2006). Children's school readiness in the ECLS-K: Predictions to academic, health, and social outcomes in first grade. Early Childhood Research Quarterly. 21(4), 431-454.

Hair, et al. (2014). Pearson new international edition. Multivariate data analysis. 7th Edition. Pearson Education Limited Harlow, Essex.

Hambleton, R. K., & Cook, L. L. (1977). Latent trait models and their use in the analysis of educational test data. Journal of educational measurement. 14(2), 75-96.

Nunnally, J.C. (1978). An Overview of Psychological Measurement. In: Wolman, B.B. (eds) Clinical Diagnosis of Mental Disorders. Boston, MA: Springer.

Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis . ToKyo: John Weatherhill. Inc., s.