สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจ ของแคนวาสของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย

Main Article Content

ศุภศักดิ์ บุญดี
สวัสดิ์ เหลาชัย
ธนาเดช ธนาธารชูโชติ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และปัจจัยธุรกิจของอุตสาหกรรมรถยนต์ตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส และ (3) นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารที่ปฏิบัติงานภายในอุตสาหกรรมรถยนต์ จำนวน 160 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ


         ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และปัจจัยธุรกิจของอุตสาหกรรมรถยนต์ตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.87 และ 4.10 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .737 และ .919 ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน ส่งผลต่อปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของอุตสาหกรรมรถยนต์ด้านการเมือง (Sig.=.021) ด้านเศรษฐกิจ (Sig.=.011) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sig.=.006) ด้านเทคโนโลยี (Sig.=.002) ด้านกฎระเบียบ (Sig.=.003) ด้านระบบสาธารณะ (Sig.=.009) พยากรณ์การส่งผลต่อธุรกิจของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยได้ร้อยละ 73.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐนัย ตรีเนตรสัมพันธ์. (2563). การพัฒนาโมเดลธุรกิจด้วยวิธีการลีนสตาร์ทอัพ. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 39(3), 337-351.

ณัฏฐณิชา ธรรมรังษี และวิิเชียร วิรพุทธพุร. (2564). แบบจำลองธุรกิจการออกแบบสื่อนิเทศศิลป์ออนไลน์โดยใช้แบบจำลองธุรกิจแคนวาส. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข. 15(1), 42-62.

นภา นาคแย้ม. (2566). การบริหารความเสี่ยงเพื่อความสำเร็จขององค์กร ผ่านการนำแบบจำลองธุรกิจแคนวาสมาใช้ในการระบุความเสี่ยง. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ. 16(1), 124-139.

ปริญญา บรรจงมณี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ประเภท Hybrid ของผู้บริโภคในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พีระ เจริญพร. (2562). กลยุทธ์การตลาดรถยนต์ขนาดเล็กในประเทศกำลังพัฒนา:กรณีศึกษาของผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2563-65. อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. ออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 จาก www.krungsri.com/th/research/ industry/industry-outlook/Hi-tech-Industries/Auto-Parts/IO/Industry-Outlook-Auto-Parts.

ศรินทิพย์ ธีรธนิตนันท์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์โตโยต้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเนชั่น.

Daou, A., et al. (2020). The Ecocanvas as a business model canvas for a circular economy. Journal of Cleaner Production, 258, 120938.

Dobrowolski, Z., & Sułkowski, Ł. (2021). Business model canvas and energy enterprises. Energies, 14(21), 7198.

Hair E., et al. (2006). Children's school readiness in the ECLS-K: Predictions to academic, health, and social outcomes in first grade. Early Childhood Research Quarterly, 21(4), 431-454.

Hair, et al. (2014). Pearson new international edition. Multivariate data analysis. (7th Edition). Pearson Education Limited Harlow, Essex.

Hambleton, et al. (1977). Latent trait models and their use in the analysis of educational test data. Journal of educational measurement, 14(2), 75-96.

Nunnally, J.C. (1978). An Overview of Psychological Measurement. In: Wolman, B.B. (eds) Clinical Diagnosis of Mental Disorders. Boston, MA: Springer.

Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis . ToKyo: John Weatherhill. Inc., s.