พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาอาชีพการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนทั่วโลกรวมทั้งคนไทย รูปแบบการทำเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัย คือในอดีตเป็นการใช้แรงงาน แต่ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีแทน แนวโน้มการพัฒนาเกษตรกรรมในอนาคต เช่น การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่อาศัยการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เช่น พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) การรวมกลุ่มในทางการค้าและเศรษฐกิจจากประเทศต่างๆ ในโลก เพื่อใช้อำนาจต่อรองและแข่งขันระหว่าง เป็นต้น จรรณายาบรรณของเกษตรกร เช่น สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดีและสามารถป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุแปลกปลอม วัตถุอันตรายและสัตว์พาหะนำโรค อุปกรณ์และพาหะในการขนย้ายต้องสะอาดปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค การขนย้ายผลิตผลอย่างระมัดระวัง เป็นต้น กลุ่มหลักธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอาชีพการเกษตร ได้แก่ สัปปุริสธรรม กล่าวคือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเวลา รู้ชุมชน และรู้บุคคล โดยสรุปคือหลักการรู้นั่นเอง และหลักการพึ่งตนเอง ได้แก่ ศีล พหูสูต ความขยัน และความสันโดษ
Article Details
References
กีรติ บุญเจือ. (2542). จริยศาสตร์สำหรับผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ. (2562). เหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังจบการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.) 17(3), 135-156.
ภานุชาติ มาโห้ และคณะ. (2558). จรรณยาบรรณเกษตรกร. เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2566 จาก https://prezi.com/0xb4lpnmcigi/presentation/
มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย,
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
วรพัฒน์ สายสิญจน์. (2563). วิชาการเกษตรเพื่องานอดิเรก, เอกสารประกอบการสอน. หลักสูตรเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อมรพิมล พิทักษ์. (2563). การพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Banksittipol. (2557). แนวโน้มของการพัฒนาการกสิกรรมของประเทศไทยในอนาคต, เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2566 จาก https://kasettakon.wordpress.com/2014/09/21/%E0%B9%81%E0%B8 %99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81/