คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

Main Article Content

วรรณภา นันทะแสง

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัล 2) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู และ 3) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า


         1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


         2. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


         3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ได้แก่ ด้านการปรับตัวสอดคล้องความเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (X4) ด้านการใช้ดิจิทัล (X2) และด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล (X3) ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .848 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 71.90 (R2=.719)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

จุรีพร มุลนี. (2565). ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกริก.

บรรจง ลาวะลี. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6(2), 205-2011.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปภาวี ตั้งดวงดี. (2559). คุณลักษณะของครูกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนกรณีศึกษา โรงเรียนประถมส่วนขยายแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทราพร เยาวรัตน์. (2565). การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(2), 344-355.

สำนักเลขาธิการการสภาการศึกษา. (2562). ครูไทยยุคใหม่สนใจดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษา เรื่อง แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสาหรับครู. พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2566 จาก https://zimedia.sfo2.digitaloceanspaces.com/pdf/2022/แผนพัฒนาการศึกษา-พ.ศ.2564-2565.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งที่ 4/2564. เรียกใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2566 จาก https://www.obec.go.th/archives/428922

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educa tional and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.