การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิพากษ์การศึกษาไทยในสังคมโลกและภูมิภาคด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนวิชาวิพากษ์การศึกษาไทยในสังคมโลกและภูมิภาคด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิพากษ์การศึกษาไทยในสังคมโลกและภูมิภาคด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา รหัส 63 จำนวน 6 รูป/คน เลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และเปรียบเทียบผลลัพธ์ ระหว่าง T1 และ T2 แยกเป็นการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย และวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ 2) หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนาการเรียนวิชาวิพากษ์การศึกษาไทยในสังคมโลกและภูมิภาคโดยใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ประกอบด้วย (1) สร้างความสนใจ (2) สำรวจและค้นหา (3) อธิบายและลงข้อสรุป (4) ขยายความรู้ (5) ประเมินผล และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิพากษ์การศึกษาไทยในสังคมโลกและภูมิภาค ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด พบว่า หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า บรรยากาศการเรียนการสอนก็เป็นปัจจัยสำคัญทีเอื้อให้ผู้เรียนอยากสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนต่างมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศ ผู้สอนจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างบรรยากาศ ผู้เรียนเป็นผู้ตอบสนองและเพิ่มสีสันให้กับบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นไปในรูปแบบต่างๆ
Article Details
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545). กระบวนการปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ : การประเมินและการประกัน. กรุงเทพมหานคร: วี ที ซี คอมมิวนิเคชัน.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.
มานิต พิทักษ์. (2553). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้คำถามเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ (แปล). (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิลด์ส.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. ว.เกษตรศาสตร์ (สังคม). 34(3), 590-595.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). เอกสารประกอบการสอนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2553). รูปแบบการเรียนการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ (Learning management). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ แนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพมหานคร: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่น ซัพพลายส์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) Available: เรียกใช้เมื่อ 28 ธันวาคม 2565จาก http://school.obec.go.th/nitade/data/ Inquiry%20process.pdf
สิโรฒน์ บุญเลิศ. (2555). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน5Eร่วมกับกลวิธีการสะท้อนอภิปัญญาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมโนมติทางวิทยาศาสตร์และอภิปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุริสา ไวแสน. (2555). การจัดการเรียนรู้เรื่องสารละลายกรด-เบส โดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ หนูร่วมกับการใช้คำถามและผังมโนมติ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
อารี พันธ์มณี. (2542). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหา: เลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด.
Massialas and Cox. (1968). I nquiry in Social Studies. New York: McGraw Hill.
Bybee, R. W. (1989). Integrating the history and nature of science and technology in science and social studies curriculum. Science Education, 75(1), 143-145.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.