ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาระดับและเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นเตรียมอนุบาลและชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาด ตำบลม่วงลาด อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 112 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบความพึงพอใจมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scales) ใน 5 ด้าน จำนวน 28 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก รองลงมาคือ ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ด้านการบูรณาการการเรียนรู้ ด้านการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม และด้านการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นอันดับสุดท้าย
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เบรน-บุ๊ค.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). บีบเค้นเด็กอนุบาล...เร่งอ่าน เขียน คณิตจะดีจริงหรือ!!!. เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2565 จาก www.kriengsak.com/nodel/1284
ดวงใจ ตระกูลช่าง. (2558). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดบริการนักเรียนโรงเรียนอนุบาล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธีรยา กาญจนานันท์. (2553). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. หลักสูตรครุศาสตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ ศรีษะนาราช. (2555). สภาพจริงและความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยา อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก. หน้า 49.
พัชริยา แก่นสา. (2554). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายตำบลวังทอง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ. ศ. 2560-2564. เรียกใช้เมื่อ 4 ตุลาคม 2565 จาก http://www.mua.go.th/users/ budget/doc/0503_4_ w657_detail.pdf
รุ่งโรจน์ คุณนาม. (2553). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนคลองน้ำใสวิทยาคาร สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 14-77.
วาสนา มีชัย. (2553). สภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลระยอง สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สายฝน ราชลา. (2554). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
อาทิตย์ ชลพันธุ์, (2554). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 ศรกิตติวรรณนุสรณ์.ชลบุรี: โรงเรียนเทศบาล 1 ศรกิตติวรรณนุสรณ์. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.