ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ดนุพล พิทักษ์เศวตไชย
บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์
มณีกัญญา นากามัทสึ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจ และประสิทธิภาพในการทำงาน และปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทประกันภัยแห่งในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรภายในองค์กรภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน ด้วยวิธีอาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ


         ผลการวิจัยพบว่าระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจ และประสิทธิภาพในการทำงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.80, 3.68, และ 3.91 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.932, 0.866, และ 0.840 ตามลำดับ และปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทประกันภัยแห่งในกรุงเทพมหานคร โดยปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.738 และความพึงพอใจมีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิภาพในการทำงาน มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.779 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยความพึงพอใจมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรชาติ คงสมัย และคณะ. (2565). ผลของภาวะผู้นำของหัวหน้างานที่มีต่อความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการวิทยาการจัดการ. 1(1), 95-109.

ธีรพงศ์ ฉุนกล้า และคณะ. (2564). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงานผ่านแรงจูงใจและความพึงพอใจในงานของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมเหล็ก จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 12(1), 98-115.

ประยูร ศรีอุดมกุล และสุมาลี รามนัฏ. (2565). ความพึงพอใจในการทำงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานประจำในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนล็อคประตูรถยนต์แห่งหนึ่งในอุตสาหกรรม สยาม อีสเทิร์น ซีบอร์ด. วารสารรัชต์ภาคย์. 16(45), 250-265.

พัชรี ตามพ์ประเสริฐกุล. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของวิศวกร. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรินทร์ จงมีสุข และคณะ. (2561). ความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทภายหลังการรวมกิจการ. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University. 6(2), 88-96.

วีระยุทธ สายบุญ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

อทิติ เพ่งพิโรจ และปรารถนา หลีกภัย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 6(3), 1-13.

Cohen, D. J. (2007). The very separate worlds of academic and practitioner publications in human resource management: Reasons for the divide and concrete solutions for bridging the gap. Academy of Management Journal. 50(5), 1013-1019.

Hair, E., et al. (2006). Children's school readiness in the ECLS-K: Predictions to academic, health, and social outcomes in first grade. Early Childhood Research Quarterly. 21(4), 431-454.

Hair, J. F., et al. (2014). Pearson new international edition. Multivariate data analysis. (7th Edition). Pearson Education Limited Harlow, Essex.

Hambleton, R. K., & Cook, L. L. (1977). Latent trait models and their use in the analysis of educational test data. Journal of educational measurement. 14(2), 75-96.

Kammerhoff, J.,et al. (2019). Leading toward harmony–Different types of conflict mediate how followers’ perceptions of transformational leadership are related to job satisfaction and performance. European Management Journal. 37(2), 210-221.

Mathis, R. L., Jackson, J. H., Valentine, S. R., & Meglich, P. (2016). Human resource management. United State of America: Cengage Learning.

Prabowo, T. S., et al. (2018). The influence of transformational leadership and work motivation on employee performance mediated by job satisfaction. Jurnal Aplikasi Manajemen. 16(1), 171-178.

Purwanto, A. (2020). The role of job satisfaction in the relationship between transformational leadership, knowledge management, work environment and performance. Solid State Technology. SSRN. 63(20), 293-314.