ความต้องการจำเป็นในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

สมใจ มณีวงษ์, ศศิรดา แพงไทย, วรรณภา นันทะแสง

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 229 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


         ผลการวิจัยพบว่า


         1. สภาพที่ปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 3.97) รองลงมา คือ การวางแผนการนำหลักสูตรไปใช้ (  = 3.96) และ การสนับสนุนทรัพยากรและบริการสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (  = 3.75)


         2. สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การนำหลักสูตรไปใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.64) รองลงมา คือ การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล (  = 4.62) และ การวางแผนการนำหลักสูตรไปใช้มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (  = 4.61)


         3. ดัชนีความต้องการจำเป็นของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษมีค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.159 ถึง 0.211 โดยด้านที่พบว่า มีค่า PNIModified สูงสุดเป็นลำดับแรกคือ การสนับสนุนทรัพยากรและบริการสภาพแวดล้อม (PNIModified = 0.211) รองลงมาคือ การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล (PNIModified = 0.178) และ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำสารสนเทศเป็นลำดับสุดท้าย (PNIModified = 0.159)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมา ชนะวงศ์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน. หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร, อัดสำเนา.

กัญญาภัค มะตอง และ ชัชภูมิ สีชมภู. (2565). แนวทางการบริหารหลักสูตรแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์กับสถานประกอบการ. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5(5), 117-128.

เกศรา ตุ่มคำ และ สนิท หาจัตุรัส. (2563). การศึกษาการบริหารงงานวิชาการของโรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการ PDCA. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8(31), 265-273.

ธีระเดช เรือนแก้ว และ ชูชีพ พุทธประเสริฐ. (2562). แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(1), 130-131.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ ศรีเชยและคณะ. (2564). การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนกลุ่มทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กพิการทางการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์. 6(3), 283-294.

ประนม มะธิปิไข, ไพโรจน์ ไพรเขียว, และ ยุทธพงษ์ เกษางาม. (2564). การประเมินหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุดรธานี พุทธศักราช 2564. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุดรธานี.

มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข. (2564). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 8(2), 329-343.

มัทธนา คงทวีบุญ และ สนิท หาจัตุรัส. (2563). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8(30), 268-279.

รัชนีกร กุฎีศรี และ ปณิธาน วรรณวัลย์. (2561). ศึกษาปัญหาการบริหารวิชาการของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7(25), 237-246.

รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร. ครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อัดสำเนา.

ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์ และ อติยศ สรรคบุรานุรักษ์. (2558). การบริหารจัดการหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ห้องเรียนที่กว้างเท่ากับโลก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 10(28), 1-14.

ศักรินทร์ สวัสดิ์เอื้อและคณะ. (2560). ผลการดำเนินงานหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวิถีอีสาน ของโรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(2), 205-213.

สัณฆ์สินี ทองเจือเพชร. (2563). สภาพการบริหารงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 8(3), 113-126.

สุกัญญา จัตุรงค์ และ อภิชาต เลนะนันท์ (2557). การบริหารหลักสูตรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคใต้ กลุ่ม 7. วารสารวิชาการ Veridian E- Journal. 9(1). 1473-1487.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2556). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการใช้รูปแบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษในประเทศไทย. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2558). ร่างโปรแกรมการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พุทธศักราช 2558. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศ. (2563). หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ พุทธศักราช 2563. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, อัดสำเนา.

เสาวณิต ร่มศรี และคณะ. (2561). การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจธ สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7(2), 647-659.