การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model

Main Article Content

อดิศักดิ์ ทุมอนันต์, ประพิศ โบราณมูล, บรรจง ลาวะลี, พระศรีวินยาภรณ์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ระดับหมู่บ้าน ประกอบด้วย เจ้าอาวาสวัดในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือสมาชิกสภาเทศบาลของหมู่บ้าน และประชาชนในหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 488 รูป/คน ได้มาโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัยพบว่า 1) การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านบริบท (context) (= 4.41 รองลงมา ด้านที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (= 4.28) ด้านที่ 4 ด้านผลผลิต (Product) (= 4.27) และน้อยสุด ด้านที่ 3 ด้านกระบวนการ (Process) (= 4.15) 2) ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 เรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ จังหวัดควรมีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คนในชุมชนมีคุณธรรมมากที่สุด ครอบครัวอบอุ่น และชุมชนเป็นสุข และน้อยสุด คือ ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้เป็นหมู่บ้านศีล 5 ดีเด่นระดับจังหวัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”. (2558). เรียกใช้เมื่อ 30 มกราคม 2560 จาก http://www.onab.go.th/ attachments/9216_Project Sil5.pdf

พระมหามนัส ทับประโมง. (2554). การศึกษาความรู้และพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขวิชาสัมคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รายงานผลโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โรงเรียนรักษาศีล 5 หน่วยงานรักษาศีล 5 ตามมติมหาเถรสมาคม. (2558). เรียกใช้เมื่อ 31 มกราคม 2560 จาก http://www.sila5.com/report/ index/index

วิไลพร อุ่นเจ้าบ้าน. (2554). พฤติกรรมการนำศีล5ไปใช้ในชีวิตประจำวันของผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอตะพานหินจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสกสันต์ ศิริวรรณ. (2553). ความศรัทธาในศีล 5 ที่มีต่อการปฏิบัติตนของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระชัยณรงค์ วิทิโต (ร่องมะรุด). (2555). การประยุกต์หลักศีล 5 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในสังคม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.