การพัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครอบครัวผู้สูงอายุวิถีใหม่ แบบบูรณาการหลักสาราณียธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของชุมชนเชิงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้นวัตกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครอบครัวผู้สูงอายุวิถีใหม่แบบบูรณาการหลักสาราณียธรรม 2)เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครอบครัวผู้สูงอายุวิถีใหม่แบบบูรณาการหลักสาราณียธรรม และ 3)เพื่อยืนยันองค์ประกอบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครอบครัวผู้สูงอายุวิถีใหม่แบบบูรณาการหลักสาราณียธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของชุมชนเชิงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้นวัตกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครอบครัวผู้สูงอายุวิถีใหม่แบบบูรณาการหลักสาราณียธรรม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านเมตตากายกรรม ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านเมตตามโนกรรม ด้านสาธารณโภคี ด้านสีลสามัญญตา และด้านทิฏฐิสามัญญตา 2) ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครอบครัวผู้สูงอายุวิถีใหม่แบบบูรณาการหลักสาราณียธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของชุมชนเชิงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 6 องค์ประกอบและ 19 ตัวบ่งชี้ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) โมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ซึ่งพิจารณาจากค่า χ2 = 11.181, df = 9, p-value = 0.137, CFI = 0.969, TLI = 0.948, SRMR = 0.045, RMSEA = 0.008, χ2/df = 1.242 และความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (Construct Reliability : CR) เท่ากับ 0.796 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.60 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์
Article Details
References
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2564). สถานการณ์สตรีและครอบครัว. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2566 จาก https://www.dwf.go.th/
ธีระวัฒน์ แก้วลังกา. (2560). บทบาทของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมการใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 2(2), 1-9.
บรรจง ลาวะลี และคณะ. (2564). การพัฒนากิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างสมรรถนะจิตใจและทางกายของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพุทธมัคค์. 6(2), 77-86.
บรรจง ลาวะลี และคณะ. (2564). การศึกษาสมรรถนะทางกายผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 6(1), 172-183.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปริศนา กาญจนกันทร, สุพรรณี ไชยอำพร. (2562). ตัวแบบความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย ยุคโลกาภิวัตน์. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหารใ 21(2). 164-175.
พระมหาอำนวย มหาวีโร และคณะ. (2566). การใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการรัตนบุศย์. 5(2), 69-79.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2556). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วรวิชชา ทองชาวนา. (2560). การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมกับการรู้เท่าทันสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค เชิงพุทธบูรณาการ : กรณีศึกษาไลน์. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2565 จาก https://www. semanticscholar. org/paperการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมกับการรู้เท่าทันสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค-ทองชาวนา/7e4761345830864667f3a753616c0e1730656558
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุเทพ เมยไธสง และคณะ. (2565). การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการเชิงรุกโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(3), 33-47.
United Nations. (2020). Sustainable Development Goals Report 2020. New York : Department of Economic and Social Affairs.