การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พระวีระพงษ์ วชิรญาโณ (แสงสว่าง), พระมหาพงศ์ทราทิตย์ สุธีโร

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมเกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 16 รูป/คนแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วนำเสนอ


ผลการวิจัยพบว่า:


         1. แนวคิดการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ มีดังนี้ (1) สุขภาวะทางกาย คือ ไม่เป็นโรค มีร่างกายแข็งแรง (2)สุขภาวะทางจิต คือ มีสุขภาพจิตดีพร้อมในการดำเนินชีวิต (3)สุขภาวะทางสังคม หมายถึง สุขภาวะที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันด้วยดีของกลุ่มคน (4)สุขภาวะทางปัญญา หมายถึง ความรู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว


         2. หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุใช้หลักภาวนา 4 โดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุบริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสม พักผ่อนอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุฝึกอบรมจิตใจให้เข้มแข็งอดทน และเจริญงอกงามด้วยคุณธรรม รู้เท่าทันสภาวะของโลกและสังขารตามความเป็นจริง


         3. การพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ ใช้หลักภาวนา 4 มาใช้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุบริโภคอาหารอย่างเพียงพอและถูกสุขลักษณะ และออกกำลังกายตามความเหมาะสมกับวัย ส่งเสริมให้องค์กรทางศาสนา เป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดงานวันสำคัญต่าง ๆที่เกี่ยวเนื่องด้วยสถาบันครอบครัว ให้ความรู้ใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ดวงแก้ว.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีสุภาพ รักษประสูติ. (2560). การศึกษาแนวทางการสร้างความสุขของผู้สูงอายุตามวิถีพุทธ. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิภาพร มาพบสุข. (2550). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2559). แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิชาการ. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 24 (44). 173-193.

สิริวรรณ มิตต์สัตย์สิริกุล. (2565). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุจังหวัดน่านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2546). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2545 (Report on the 2002 Survey of Elderly in Thailand). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

อนุชาติ พวงสำลี และอรทัย อาจอ่ำ. (2541). การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.