ภาวะผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอธิษฐานธรรม 4 ของผู้บริหารและบุคลากรท้องถิ่น ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระจักรกฤษ ธมฺมจกฺกเมธี (โรจนกร), เวชสุวรรณ อาจวิขัย

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอธิษฐานธรรม 4 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอธิษฐานธรรม 4 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอธิษฐานธรรม 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรท้องถิ่นสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 250 คน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.43-0.93 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ ค่า t-test และ F-test (One-Way ANOVA)


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) ระดับภาวะผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอธิษฐานธรรม 4 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (อุปสมะ) รองลงมา ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน(สัจจะ) ภาวะผู้นำแบบสั่งการ (ปัญญา) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ภาวะผู้นำแบบบรรลุผลสำเร็จ (จาคะ) 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอธิษฐานธรรม 4 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3)  ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอธิษฐานธรรม 4 พบว่า ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุน การประสานงาน กับชุมชนหน่วยงานอื่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทำให้เกิดปัญญา และสร้างกัลยามิตรต่อกัน ร่วมสนับสนุนวางแผนดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา ติดตามและประเมินผลเพื่อผลประโยชน์และผู้บริหารมีความจริงใจใน สัจจะ รับฟังความคิดเห็นของบุคลากรเพื่อปรับปรุงงาน (อุปสมะ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การเสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 7(2), 5-22.

บรรเจิด สอพิมาย. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิภา เมธธาวีชัย. (2543). การประเมินผลการเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎธนบุรี.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญรุ่ง สมฺปุณฺโณ และคณะ. (2022). แนวทางการบริหารโรงเรียนตามหลักอธิษฐานธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจยวิชาการ. 5(3), 23–34.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). คนรักษ์ป่า ป่ารักษ์คน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิปัญญาประทีป.

ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2561). ภาวะผู้นำในการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 10(3), 140-156.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศีขรภูมิ. (2563). งานวิจัยการพัฒนาชุมชน. สุรินทร์: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศีขรภูมิ.

สุภาวดี จิตติรัตนกุล. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรี : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองพังงา อำเภอเมืองจังหวัดพังงา. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.