ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาความรักความสามัคคีแบบมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่บ้านป่าหม้อ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาความรักสามัคคีแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านป่าหม้อ หมู่ที่ 6 และหมู่บ้านป่าหม้อหมู่ที่ 11 อ.พระยืน จ.ขอนแก่น หมู่บ้านละ 50 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 51 – 59 ปี 2) ปัจจัยการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจของคนในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 3.97 3) ปัจจัยการมีส่วนร่วมด้านการพัฒนาชุมชนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมความรักความสามัคคีของคนในชุมชน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.24 4) ปัจจัยด้านการได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านที่เกี่ยวกับการพัฒนาความรักความสามัคคี คนในชุมชนได้เล็งเห็นถึงประโยชน์จากกิจกรรมนั้น ๆ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.34 และ 5) ปัจจัยด้านการจัดโครงการที่ส่งเสริมและพัฒนาความรักสามัคคีของคนในชุมชน คือโครงการส่งเสริมการสร้างวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นหัตถกรรมที่สามารถใช้ในครัวเรือนหรือจำหน่ายในนามชองชุมชนและโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.16
Article Details
References
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 6(ฉบับพิเศษ). 527-538.
ฐิติพร วรฤทธิ์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามัคคีของชุมชนกรณีศึกษาชุมชน ในตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัด
บุรีรัมย์.วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(6). 115-126.
พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์
หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัด
นนทบุรี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วริษฐา สุริยไพฑูรย์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้ความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้า
ของผู้บริโภคผ่านระบบพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. สงขลา:
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. วารสารร่มพฤกษ์.
(3). 45-65.