ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ ในวรรณคดีสันสกฤตชาดกมาลา เรื่องแม่เสือลูกอ่อน

Main Article Content

สำราญ ธุระตา

บทคัดย่อ

       ชาดกมาลา มีความหมายว่า พวงมาลัยแห่งชาดก แต่งโดยกวีชื่อ ศูระ หรืออารยศูระ รูปแบบของการแต่งคล้ายคลึงกับคัมภีร์สูตราลังการ หรือคัมภีร์กัลปนามัณฑิติกาของท่านอัศวโฆษะ จารึกด้วยภาษาสันสกฤตผสม หรือภาษาสันสกฤตพันทาง ใช้สำหรับจารึกหลักธรรม และเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา


       ชาดกมาลา ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ร้อยกรองขึ้นในสมัยใด แต่มีหลักฐานที่สามารถสืบค้นได้ ดังนี้ มีเรื่องราวบางเรื่องปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังถ้ำอชันตา และภรหุตสถูป มีจารึกบอกไว้ว่า มีที่มาจากชาดกมาลาของอารยศูระ เมื่อพิจารณาจากตัวหนังสือ จารึก น่าจะมีอายุราว ค.ศ. 600 นอกจากนี้ ยังมีงานชิ้นหนึ่งของท่านถูกแปลเป็นภาษาจีน ประมาณ ค.ศ. 434


        ชาดกมาลา มีชาดกทั้งสิ้น 34 เรื่อง แต่งเป็นร้อยแก้ว และร้อยกรองสลับกันไป มีลักษณะคล้ายชาดกที่ปรากฏในวรรณคดีชาดก และจริยาปิฏกฝ่ายบาลี เนื้อหากล่าวถึงชีวิตของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติต่าง ๆ รวมถึงการบำเพ็ญบารมีเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า บทบาทสำคัญอย่างยิ่งของพระโพธิสัตว์อีกประการหนึ่ง คือ ความเมตตากรุณา การสละชีวิต และร่างกายเป็นทานแก่สรรพสัตว์ โดยเฉพาะชาดกเรื่องที่ 1 เรื่องแม่เสือลูกอ่อน ซึ่งกล่าวถึงบทบาทการให้ทานอันยิ่งของพระโพธิสัตว์โดยตรง จากการวิเคราะห์การบริจาคทานของพระโพธิสัตว์ในวรรณคดีสันสกฤต เรื่อง แม่เสือลูกอ่อนพบว่า พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญทานบารมีใน 4 ลักษณะ คือ 1. บริจาคร่างกายของตนเองเป็นทาน 2. จุดมุ่งหมายของการบริจาคทาน คือ เพื่อสงเคราะห์ 3. องค์ประกอบของการบริจาคทานสมบูรณ์ทั้ง 3 ส่วน คือ พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ให้ แม่เสือลูกอ่อน คือ ผู้รับ และไทยธรรม คือ ร่างกายพระโพธิสัตว์ 4. อานิสงส์การบริจาคทาน คือ พระโพธิสัตว์ไปเกิดบนสวรรค์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำลอง สารพัดนึก. (2546). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ผาสุข อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพมหานคร: อักษรสมัย.

พระกัลปภัทร ขันติโก (สุขศิริ). (2558). ศึกษาวิเคราะห์เรื่องทานในพุทธปรัชญาเถรวาท ที่ปรากฏในผญา

อีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(2), 219-223.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 17).

กรุงเทพมหานคร: จันทร์เพ็ญ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระสูตร และอรรถกถาแปล เล่ม 36. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา มกุฏ

ราชวิทยาลัย.

_______. (2537). มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สังข์วาล เสริมแก้ว และคณะ. (2564), มกราคม-เมษายน). การให้ทาน : คุณธรรมจำเป็นในสังคมช่วงสถานการณ์โรคระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid -19). วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 17(1), 72-

ไสว สุวัณณ์ (เรียบเรียง). (2562). มังคลัตถทีปนี แปล ภาค 2 เล่ม 3. ปทุมธานี : โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระ

ธรรมกาย.

หลวงรัชฏการโกศล (แปล). (2541). ชาดกมาลา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราช

วิทยาลัย.

Winternitz, Maurice. (1970). A History of Indian Literature V.2 Buddhist Literature and Jaina

Literature. Translated by Mrs. S. Ketkar and Miss H. Kohm. New Delhi : Oriental

Books Reprint Corporation.