ธรรมชาติของขันธ์ 5 ในพระไตรปิฎก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมชาติของขันธ์ 5 ในพระไตรปิฎก ผลการศึกษาพบว่า ขันธ์ 5 ในพระวินัยปิฎกเป็นการแสดงแบบสมมติบัญญัติ ในพระอภิธรรมปิฎกเป็นการแสดงแบบปรมัตถบัญญัติ ในพระสุตตันตปิฎกเป็นคำสอนที่เทียบได้กับแนวคิด/หลักการ, เฉพาะในพระสุตตันตปิฎกผู้เขียนศึกษาจากคัมภีร์สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เป็นหลัก ซึ่งเป็นการแสดงธรรมชาติหรือลักษณะของขันธ์ 5 ในมิติต่างๆ ได้แก่ 1) การระงับและบรรเทาทุกข์ทางกาย 2) บ่อเกิดแห่งฉันทราคะ 3) ภาวะทำให้สะดุ้ง 4) ธรรมอันหนัก (ภาระ) สำหรับผู้ยึดมั่นถือมั่น 5) คุณเครื่องกำจัดฉันทราคะ 6) มายา 7) ปิดบังไตรลักษณ์ ทำให้มีความเห็นผิดสำหรับผู้ยึดมั่นถือมั่น การเข้าใจขันธ์ 5 ได้ถูกต้องมีผลทำให้ดำรงชีวิตด้วยปัญหา สามารถกำหนดรู้และหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพราะความเขลาต่อชีวิต แต่จะปฏิบัติตนได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพชีวิตหรือบริบทของชีวิต ซึ่งทำให้พบกับทางแห่งความสงบสุขตามหลักพระพุทธศาสนาที่มุ่งสอนให้มนุษย์เข้าใจสัจธรรมแห่งชีวิตตามความเป็นจริง เช่น ความไม่เที่ยงแห่งขันธ์ 5 เป็นต้น
Article Details
References
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2543). หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
______. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร:
มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).
พระมหาโยธิน โยธิโก. (2561). การจัดการขันธ์ 5 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ในพระพุทธศาสนา. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
พระราชปริยัติโมลี (อุปสโม) และคณะ แปล. (2535). ธาตวัตถสังคหปาฐนิสสยะ. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2560). พจนานุกรม บาลี-ไทย. โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2556). พระพุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.