การสร้างชุมชนนวัตวิถีด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

Main Article Content

อดิศร หนันคำจร

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างชุมชนนวัตวิถี เกิดจากกระบวนการคือ การค้นหาศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่น การฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยกรธรรมชาติในท้องถิ่น และในการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างชุมชนนวตวิถี จะต้องใช้หลักการมีส่วนร่วมกับประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ให้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง มีการผสานกับทฤษฎีต่างๆ เช่น การนำทฤษฏีแรงจูงใจ ทฤษฏีการมีส่วนร่วม แนวคิดและทฤษฎี SWOT และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ เกิดความยั่งยืน ประชาชน มีคุณภาพชีวิต และมีรายได้ที่ดีขึ้นโดยการขายสินค้าอยู่ในชุมชน ที่มาจากการท่องเที่ยว โดยใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ แปลงเป็นรายได้ ทั้งนี้ครอบครัวและลูกหลานยังอยู่ร่วมกัน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง เชื่อมโยงชุมชนท่องเที่ยว OTOP กับเส้นทางการท่องเที่ยวกระแสหลัก เมืองรอง และแหล่งท่องเที่ยว ให้เกิดรายได้ที่กระจายไปสู่ผู้ประกอบการกลุ่มต่างๆ ในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวนววัตวิถี. กรุงเทพมหานคร: มหาดไทย.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2556). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เรืองเดช ปันเขี่ยนขัตย์. (2542). นิทานพื้นบ้านลาว เล่ม 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์. (2538). วิธีการสอน. กรุงเทพมหานคร: สกายบุ๊กส์.

Maslow, Abraham M.. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.