การศึกษาวิเคราะห์การบรรเทาภัยพิบัติด้วยรัตนสูตร

Main Article Content

พระมหาปริญญา วรญาโณ

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาวิเคราะห์การบรรเทาภัยพิบัติด้วยรัตนสูตร พบว่า ภัยพิบัติในพระพุทธศาสนา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มี 4 ประเภท ได้แก่ อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย และทุพภิกขภัย สาเหตุมี 2 สาเหตุ ใหญ่ ได้แก่ สาเหตุทางธรรมชาติ เกิดจากธาตุน้ำ ลม และไฟกำเริบ สาเหตุจากมนุษย์ เกิดจาก โลภะ โทสะ โมหะ ส่งผลกระทบทั้งทางด้ายร่างกาย และด้านจิตใจ แก่มนุษย์และสรรพสัตว์ทุกชนิดบนโลก โดยเฉพาะในยุดปัจจุบันที่เกิดภัยพิบัติจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ


รัตนสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติในสมัยพุทธกาลที่เกิด ทรงแนะนำให้พระเถระน้อมรำลึกถึงคุณของรัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ และอำนวยพรให้สรรพสัตว์เหล่านี้มีความสวัสดี ทำให้เกิดความสงบกายสงบใจ ลดความทุกข์ใจจากภัยพิบัติที่เกิดจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ทำให้ได้รับความศิริมงคล และพ้นจากอุปสรรคอันตรายทั้งหลาย  และสามารถนำมาพัฒนาชีวิต ได้แก่ 1) การพัฒนาทางจิต คือ ลดความท้อถอย เป็นต้น ทำให้จิตใจไม่แจ่มใสคลุมเครือ 2) การพัฒนาทางกาย เช่น ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ทำให้มีสติ เป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว 3) การพัฒนาทางด้านสังคม ทำให้เกิดความสามัคคีในสังคม 4) การพัฒนาทางด้านปัญญา ทำให้เกิดปัญญาความฉลาดรู้ เท่าทันตามความเป็นจริง ความเข้าใจถูกต้องในพระรัตนตรัย รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ ประโยชน์-มิใช่ประโยชน์ แก้ไขปัญหาได้ด้วยสติปัญญา หากสวดสาธยายมนต์แล้ว มีการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็จะเป็นการพัฒนาจิตขั้นสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไทยโพสต์. ใช้ทุกทาง “เทวัญ” ชงสวดมนต์รัตนสูตรไล่ไวรัส. เรียกใช้เมื่อ 24 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.thaipost.net/main/detail/60143

บีบีซีไทย. โรคโควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 7 มิถุนายน 2564 จาก https://www.bbc.com/thai/features-51473472

พระสิงห์ทน นราสโภ. (2534). พลังรังสีธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โลกทิพย์.

ฟูจิโมโต้ โนริยูกิ. (2547). น้ำประจุพลังบำบัดโรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รวมทรรศน์.

มนต์ ทองธัช. (2534). 4 ศาสนาสำคัญของโลก. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). อรรถกถาพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริพร ทัศนศรี. พุทธวิธีการรักษาโรคด้วยโพชฌงค์: ผลแห่งการปฏิบัติหรือมหัศจรรย์แห่งมนต์คาถา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 1(1), 138-144.

สารานุกรมเสรี. รัตนสูตร (รตนสูตร). เรียกใช้เมื่อ 23 พฤษภาคม 2563 จาก https://th.wiki pedia. org/wiki/_ note-6

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2560). พระไตรปฎกฉบับสําหรับประชาชน ยอความจากพระไตรปฎกฉบับภาษาบาลี 45 เลม ฉบับวาระ 100 ป ชาตกาล อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพระไตรปิฎกเพื่อประชาชน.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2555). มหันตภัยถล่มโลก. นนทบุรี: ไผ่เหลือง.

Buddhist Monks Bhikkhu. (2009). Human Guide. Bangkok: Department of Religious Affairs. Ministry of Culture.

Chulalongkorn University. (1984). The inscription of King Ramkamhaeng the Great. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Phra Damwisutikavee Phichit Thitavatee. (2001). Vipassana Meditation. Nakhon Pathom: Mahamakut Buddhist University Press.